การยัญพลี เซ่นสรวง

Last updated: 23 ธ.ค. 2554  |  5673 จำนวนผู้เข้าชม  | 


การยัญพลี เซ่นสรวง



การยัญพลี เซ่นสรวงที่มีของสดของคาว ประกอบด้วยเลือดเนื้อ สุราเมรัย 
เป็นการรับสังเวย ของอสุรกาย ภูติเปรต บริวารของเทพต่างๆๆในมิติชั้นล่าง

พระพุทธศาสนามิได้เน้นการทำลายชีวิตมาบวงพลีสังเวย
 
บวงสรวงเทวดา ก่อนงานบุญ  คือแจ้งการบุญ พรหมเทพครูอาจารย์ได้โมทนาสิ่งดีที่จะทำ ไม่ใช่เพื่อการอื่นเลย เอาแรงบุญส่ง

การบูชาเทวดา ก็นิยมใช้ของหอม ของหวานผลไม้ตามกำลัง ประกอบดอกไม้ของหอมบูชา ตามแต่ความนิยมของภูมิภาคนั้นๆๆ หรือเทพประจำท้องถิ่น แทนความเคารพ อัญเชิญเทพยดาพรหมชั้นสูงมิได้เป็นผู้รับสังเวย แม้ปวงเทพก็มิอาจรับ แต่เป็นการแสดงความนอบน้อม

ผู้ที่รับคือเหล่าเทพยดาเบื้องล่าง อันสถิตในป่าเขาผืนดิน แต่จาตุมหาราชิกา ภุมมิเทวาเป็นผู้รับและบริวารเปรต อสุรกาย ที่ยังเสพของหยาบอยู่
การบวงสรวงพลี ด้วยเครื่องบูชาเป็นสัญลักษณ์นอบน้อมในยัญกรรม สิ่งสำคัญในการบวงพลี คือใจที่เคารพ และผลบุญจาก ทาน ศีล ภาวนาที่กระทำอุทิศต่างหาก ที่รับรู้โมทนาได้ เครื่องสังเวย เป็นของแสดงความอ่อนน้อม ในมิติภพภูมิ ครูอาจารย์ บริวารเปรต ภูติ ที่มาโมทนา ในกิจกุศล ดังการอัญเชิญให้รับรู้ บอกกล่าว ว่านี้คืองานบุญนะ ขอแผ่อุทิศ จึงควรวางจิตให้ถูก ละการเข่นฆ่า จึงเป็นมหายัญพลี สำเร็จด้วยกุศล

หากจัดยัญพลี เพื่อวิงวอนขอ ย่อมเป็นหนี้เทพพรหมเทวดา เพราะท่านมิได้ต้องการของหยาบ อันมิติช้ันสูงเนรมิตได้ด้วยจิต ท่านโมทนาในกุศลของผู้เคารพในงานบุญ

งานบวงสรวง บางงาน จึงเต็มไปด้วยฝูงเปรตมากกว่าเทวดา หากวางใจผิด เพราะใจขุ่นมัว เต็มไปด้วยโลภะ โทสะ โมหะ ปวงเทพใดจักมา สิ่งที่ต้องการสังเวยพลีแลกเปลี่ยน เพราะอดอยาก ชอบของสดของคาว มีแต่เปรต อสุรกายเท่านั้น

กุศลเสริมกุศล อกุศลเสริมอกุศล ผู้ตายไปเป็นภูติวิชาจึงต้องการยัญพลีของหยาบ เพราะมิอาจรับส่วนบุญได้ ต้องทรมานทรกรรม เมื่อมีผู้สังเวยจึงรับได้และอวยผลแก่ผู้สังเวย
การใช้มนต์ดำจึงใช้ชีวิตของคาวสังเวย เหตุที่ใช้ของบูชาเทวตาพลีเพื่อแสดงความนอบน้อมแผ่โมทนาบุญตามแบบโบราณ และอุทิศแก่ข้าทาสบริวารเปรตอสุรกาย

ลดการเข่นฆ่าชีวิตดีที่สุด คืออย่าไปสั่งฆ่า เพื่อมาสังเวย จะเป็นบาปมากกว่าบุญ
ถ้าจะสรวงเหล่าภูติใช้ซากของสัตว์ที่ตายแล้ว ที่เขาฆ่าขายมาทำสังเวยไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้ฆ่าดีที่สุด เพื่อเลี่ยงการฆ่า คือที่เขาฆ่าอยู่แล้วมาทำพลีก็ยังไม่กระทบศีล
แต่ถ้าจะดีลด งด เว้น การฆ่าได้ยิ่งดี จะได้ไม่มีกรรมเวรต่อกัน
เพราะบางที บวงพลีครูอาจารย์ ต้องล้มหมู เป็ด ไก่ หลายตัว ด้วยการสั่งฆ่านั้นบาปมาก ถ้าจะพลีใช้พอเป็นพิธีคืออย่าสั่งฆ่าเพื่อบวงพลีจะได้ไม่สร้างกรรมเวร ครูบาอาจารย์จะได้ไม่พลอยบาป เอาจากที่เขาทำไว้ขายทั่วไปมาทำสังเวย แล้วอุทิศบุญให้ดีกว่า 
มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนยิ่งนัก มิติภพภูมิซ้อนทับ

 
บวงพลีด้วยสติ ใช้บุญเป็นทางเทอญ
ยัญพลีใด จักมีอำนาจเท่าการ บูชาด้วย ทาน ศีล ภาวนา และแผ่บุญกุศล
กุศลพลีจากทาน ศีล ภาวนา มีอานุภาพมาก คือส่วนบุญส่วนกุศลจาก บุญกิริยาวัตถุ 10 ทำให้ดี ก็แผ่ถึง
สำคัญที่กำลังใจนี้ และบุญแห่งการบูชาพระรัตนตรัย ที่แผ่ไปทุกภพ วางใจให้ดีๆๆๆๆๆๆ จึงดี 




ที่สุดของการบวงพลี
 
ขอบคุณแหล่งข้อมูล >>> http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=89

[89] บุญกิริยาวัตถุ 10 (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, ทางทำความดี — bases of meritorious action)
       1. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ — meritorious action consisting in generosity; merit acquired by giving)
       2. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี — by observing the precepts or moral behavior)
       3. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ — by mental development)
       4. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม — by humility or reverence)
       5. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้ — by rendering services)
       6. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น — by sharing or giving out merit)
       7. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น — by rejoicing in others’ merit)
       8. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้ — by listening to the Doctrine or right teaching)
       9. ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ — by teaching the Doctrine or showing truth)
       10. ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง — by straightening one’s views or forming correct views)

       ข้อ 4 และข้อ 5 จัดเข้าในสีลมัย; 6 และ 7 ในทานมัย; 8 และ 9 ในภาวนามัย; ข้อ 10 ได้ทั้งทาน ศีล และภาวนา





 

Powered by MakeWebEasy.com