คุรุเทวะปิตามาตาเทวี

Last updated: 23 ธ.ค. 2554  |  37311 จำนวนผู้เข้าชม  | 


จากดวงดาวในปีนี้
พลังแห่งโยคะศาสตร์และวิถีทางจิตจะมีความสมดุลมาก
ทำให้ผู้คนได้รับความมหัศจรรย์ทางจิตใจ
เรื่องราวประวัติของเทพเจ้าต่างๆ
ทำให้เราเชื่อมั่นในหลักธรรมของพระพุทธองค์มากขึ้น

ระบบโลกมนุษย์และโลกวิญญาณเชื่อมถึงกัน
โดยที่ผู้เคารพและศรัทธาจริงจัง
จะสัมผัสได้ในการปฏิบัติจิต
มากกว่าเชื่อถือด้วยความลุ่มหลงงมงายในพิธีกรรม


==========================================
==========================================

พระศิวะ

พระอิศวร หรือ พระศิวะ (สันสกฤต: शिव Śiva, อังกฤษ: Mahesh, Shiva) เป็นเทพตามความเชื่อของชาวฮินดู มีพาหนะ คือ โคเผือก ชื่อว่า อุศุภราช พระอิศวรเป็นมหาเทพแห่งการทำลาย มีกายสีขาว แต่พระศอเป็นสีดำเพราะเมื่อตอนที่พระนารายณ์และเหล่าเทวดา อสูร ทำพิธีกวนสมุทรโดยใช้พญานาคเป็นตัวฉุดเขาพระสุเมรุนั้น ใช้เวลากวนนานมาก พญานาคจึงคายพิษออกมาปกคลุมไปทั่วโลก พระศิวะ จึงว่าเกรงจะเป็นภัยต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตในโลกจึงได้สูบเอาพิษเหล่านั้น ไว้จึงทำให้ คอของพระศิวะเป็นสีดำนั้นเอง มีพระเนตรถึง 3 ดวง ดวงที่ 3 อยู่กลางพระนาลาฎซึ่งตามปกติจะหลับอยู่ เนื่องจากพระเนตรดวงที่ 3 นี้ มีอานุภาพร้ายแรงมาก หากลืมขึ้นเมื่อใดจะเผาผลาญทุกอย่างให้มอดไหม้ ประทับอยู่ ณ เขาไกลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลมีมเหสีคือ พระแม่อุมา

รูปลักษณ์ของพระอิศวร โดยมากจะปรากฏให้เห็นเป็นชายผมยาว มีพระจันทร์เป็นปิ่นปักผม ซึ่งได้มาจาการกวนสมุทร มีลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์เป็นสังวาล มีงูเห่า พันรอบพระศอ นุ่งห่มหนังเสืออันเป็นเครื่องนุ่งห่มของฤาษี

กำเนิดพระศิวะเทพ

มหาเทพแห่งการสร้างและทำลาย

พระศิวะนอกจากจะเป็นเจ้าผู้เป็นใหญ่ หรือเป็นเทวบดีแห่งสรวงสวรรค์ทั้งปวงแล้ว ยังเป็นเทพแห่งการสร้างและการทำลายอีกด้วย ซึ่งมีสถานะอยู่เหนือการพิธียัญกรรมทั้งปวง พระศิวะหนึ่งในเทวเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นามหนึ่งในมหาเทพตรีมูรติและเจ้าแห่งลัทธิไศวะนิกาย ขอกล่าวถึงเรื่องราวการกำเนิดของพระศิวะเทพ ล้วนแต่แตกต่างตามยุคและการรวบรวมเรื่องราว ซึ่งปรากฏ ดังนี้ ในอดีตกาลยุคแห่งความว่างเปล่า โลกยังมีเพียงอากาศธาตุ พระเวทย์ พระธรรม (วิญญาณเป็นเพียงอากาศธาตุ ไม่มีตัวตน ซึ่งเกิดจากการบำเพ็ญบารมีสั่งสมไว้) ได้ปรึกษาหารือเพื่อลงมือจัดหาสิ่งต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในกาลภายหน้าจึงตกลงใจสร้างโลกขึ้นมา โดยการสร้างองค์เทพ เพื่อมอบหมายหน้าที่สร้างโลกทั้งสามต่อไป โดยการร่ายเวทย์ต่างๆ จนบังเกิดเป็นพระอิศวร มีรูปกายสีขาว มี ๓ เนตร โดยหากวันใดพระอิศวรลืมเนตรที่ ๓ ก็จะเกิดไฟประลัยกัลป์เผาผลาญทุกสิ่งจนมอดไหม้ชั่วพริบตา อย่างไรก็ตามในคัมภีร์ต่างๆ ล้วนกล่าวไว้ว่าพระศิวะ เป็นเทพที่มีอิทธิฤทธิ์สูงส่งกว่าเทพเทวะใดๆ

มหาเทพแห่งการร่ายรำ

พระศิวะเป็นมหาเทพที่ค่อนข้างจะอยู่ในแนวของศิลปินมากกว่าเทพองค์อื่นๆ บรรดาทวยเทพทั้งปวงต่างกล่าวขวัญถึงอารมณ์ศิลป์ของพระองค์ว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน เป็นต้นว่าเรื่องของการแต่งองค์ทรงเครื่อง พระองค์ก็ไม่ค่อยจะโปรดแต่งองค์ด้วยเครื่องทรงอันหรูหราตระการตาดังราชันย์ ไม่โปรดที่จะประดับแก้วแหวนเงินทองพราวระยับตาดังเทพส่วนใหญ่ พระองค์ทรงโปรดที่จะห่มหนังสัตว์ มุ่นพระเกศาเอาไว้รวกๆ มีงูเป็นดั่งสายสังวาลย์ และโปรดที่จะไปนั่งบำเพ็ญภาวนาตามป่าช้าที่เต็มไปด้วยเงาของภูตพรายสารพัน
นอกจากสไตล์ของพระองค์ที่ค่อนไปทางศิลปินผู้สมถะ และใฝ่สันโดษแล้ว พระองค์ยังทรงเป็นศิลปินแท้ๆที่ได้รับการยอมรับว่าทรงเป็นเจ้าตำรับการร่ายรำระบำฟ้อนของอินเดียเลยก็ว่าได้ ด้วยเพราะทรงเป็นเทพแห่งศิลปการร่ายรำ ปางหนึ่งของพระศิวะที่แสดงถึงฐานะของพระองค์ที่ชัดเจนและรู้จักกันอย่างแพร่หลาย ปางนั้นคือ ปางนาฏราช (nataraja) ในตำนานเล่าว่าพระศิวะทรงชักชวนพระนารายณ์แปลงเป็นสามี-ภรรยาไป ณ ป่าแห่งหนึ่ง เพื่อกำราบเหล่าดาบสที่ไม่ตั้งตนบำเพ็ญตบะ และบูชาเทพอย่างที่ควร ดาบสกลุ่มนั้นประพฤติตนเหลวไหล ใฝ่ไปในทางชั่วมากกว่าจะอยู่ในศีลธรรม เมื่อทั้ง ๒ มหาเทพไปปรากฏตัวในป่านั้น ในฐานะของโยคีหนุ่ม-สาว (พระนารายณ์ทรงแปลงเป็นโยคีสาว) เหล่าดาบสผู้มากด้วยกิเลสตัณหาก็พากันเวียนวนมาเกี้ยวพาราสีโยคีสาว โดยไม่สนใจว่านางเป็นผู้มีเจ้าของอยู่แล้ว บรรดาภรรยาของดาบสต่างก็ไม่วางตนว่าไม่โสดแล้ว และพากันมาให้ท่าทอดสะพานแก่โยคีหนุ่มไว้เว้นวาย เวลาผ่านไปก็ไม่มีดาบสผู้ใดพิชิตใจโยคีสาวได้ ความพิศวาสจึงได้กลายเป็นความเคืองแค้น เหล่าดาบสจึงพากันสาปแช่งโยคีหนุ่ม-สาวให้มีอันเป็นไป แต่ทว่าคำสาปนั้นกลับไม่เกิดผลใดๆทั้งสิ้น พวกดาบสนั้นไม่อาจล่วงรู้ว่าโยคีทั้งสององค์นั้นคือพระศิวะและพระนารายณ์ อิทธิฤทธิ์เวทมนต์ใดๆก็มิอาจกร้ำกรายมหาเทวะได้ แต่ด้วยความไม่รู้นั้นพวกดาบสจึงกำเริบเสิบสานต่อไป โดยการส่งยักษ์ชื่อมุยะละกะมาปราบ พระศิวะจึงทรงสำแดงเดชใช้เท้าข้างหนึ่งเหยียบอกยักษ์ไว้ แล้วก็ทรงร่ายรำไปในลีลาอันวิจิตรพิสดารยิ่งนัก บรรกากาบสทั้งหลายจึงยอมศิโรราบ กราบขอขมาต่อพระศิวะโดยดี เมื่อได้ตระหนักว่าตนกำลังอหังการกับมหาเทพเสียแล้ว
ณ เทวาลัยในเมืองจิทัมพรัม ได้มีรูปพระศิวะในท่าร่ายรำต่างๆถึง ๑๐๘ รูปด้วยกัน บรรดาผู้ที่สักการะบูชาพระศิวะมักไปบูชาพระองค์ที่เทวาลัยแห่งนี้เป็นจำนวนมากในแต่ละปี ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อพระศิวะทรงตีกลองเป็นจังหวะอันไพเราะห์ โลกใบนี้ก็จะเคลื่อนไหวไปตามจังหวะกลองนั้นด้วย เท่อพระองค์ทรงร่ายรำ เคลื่อนไหวพระองค์ และพระกรพลิ้วไหว ก็เป็นเหตุให้บังเกิดสุริยะจักรวาลขึ้นในบัดนั้นเอง สำหรับท่าร่ายรำทั้ง ๑๐๘ ท่าของพระองค์นั้น ล้วนเป็นท่าที่ต้องใช้อวัยวะทุกส่วนของร่างกาย แม้แต่กล้ามเนื้อรอบดวงตา ลีลานาฏศิลป์แบบพระศิวะนั้นทั้งงดงามและน่าเกรงขาม อีกทั้งยังเป็นต้นแบบของท่ารำฟ้อนแบบไทยของเราด้วย ซึ่งได้นำท่าร่ายรำของพระองค์มาดัดแปลง เช่นเดียวกับท่าร่ายรำของชาติอื่นๆ ผู้ที่เป็นศิลปินในแขนงการเต้นรำหรือฟ้อนรำมักนิยมบูชาและขอพรจากพระองค์ให้เกิดความรุ่งเรืองในชีวิต ด้วยการบูชาพระองค์ด้วยดอกลำโพง
 
บทบาทของพระศิวะ
พระศิวะทรงเป็นมหาเทพที่ยิ่งใหญ่ในจักรวาล พระองค์จะทรงประทานพรอันวิเศษให้แก่ผู้ที่หมั่นกระทำความดี และยึดมั่นในศีลธรรมเท่านั้น หากผู้ใดประพฤติเพื่ออุทิศถวายแก่พระองค์แล้ว ปรารถนาสิ่งวิเศษใดๆ พระองค์จะทรงประทานพรนั้นให้ไม่ช้า แต่เมื่อได้รับพรสมปรารถนาแล้ว หากกระทำผิดไปจากความดีงามคนผู้นั้นก็จะเกิดวิบัติในชีวิต พระองค์จะทรงเป็นเทพผู้ทำลายทันที มีความเชื่อกันว่าพระองค์สามารถช่วยปัดเป่า รักษาเยียวยาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆได้อย่างมหัศจรรย์นัก หากผู้ใดที่เจ็บป่วยหรือต้องการขอพรให้คนในครอบครัวหายเจ็บไข้ได้ป่วยต้องบวงสรวงบูชาและขอพรจากพระศิวะ และปรากฏว่าความเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นจะถูกปัดเป่าให้หายไปโดยสิ้นในเร็ววัน ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นทางใดหากบวงสรวงบูชาพระองค์ขอพรให้พ้นทุกข์ พระองค์ก็จะทรงประทานพรให้ผู้นั้นพ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ได้เช่นกัน เป็นที่กล่าวกันอีกว่าพระศิวะนั้นเป็นเทพที่จะอำนวยพรประทานความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ผู้มีอาชีพเลี้ยงวัว เลี้ยงม้า เลี้ยงแกะ หรือเกษตรกรทั้งปวงก็จะมีความสำเร็จและมีความสมบูรณ์พูนสุขได้ หากบวงสรวงบูชาพระศิวะเพื่อขอความอุดมสมบูรณ์ ยังเชื่อกันอีกว่าพระองค์เป็นเทพที่คอยขับไล่ความชั่วร้ายให้ห่างไกลและจะทำให้เกิดความดีงาม เป็นสิริมงคลเกิดขึ้นกับตนและครอบครัว
นอกจากบทบาทโดยรวมที่กล่าวมาแล้ว อีกบทบาทหนึ่งที่แยกออกไปจากบทบาทของมหาเทพผู้ทรงมีพระกรุณาประทานพรแก่มวลมนุษย์นั้น พระองค์ยังทรงเป็นเทพคีตา คือ เทพเจ้าแห่งการดนตรีและการรำฟ้อนทั้งปวงอีกด้วย

ปางต่าง ๆ ของพระศิวะ
 
1. ปางศิวะนาฏราช (พระศิวะกำลังร่ายรำ)
ในตำนานเล่าว่า พระศิวะทรงชักชวนพระนารายณ์ปลอมแปลงโฉม เป็นสามี-ภรรยากันไป ณ ป่าแห่งหนึ่ง เพื่อกำราบเหล่าดาบสที่ไม่ตั้งตนบำเพ็ญตบะ และบูชาเทพอย่างที่ควร ดาบสกลุ่มนั้นประพฤติตนเหลวไหล ใฝ่ไปในทางชั่วมากกว่าจะอยู่ในศีลในธรรม
เมื่อทั้ง 2 มหาเทพไปปรากฏตัวในป่านั้นในฐานะของโยคีหนุ่มกับภรรยาสาว (พระนารายณ์ทรงปลอมเป็นภรรยาพระศิวะ) เหล่าดาบสผู้มากกิเลสตัณหา ก็พากันมาเวียนวน เกี้ยวพาราสีสาวงามภรรยาของโยคีหนุ่ม โดยไม่สนใจหรอกว่านางเป็นผู้มีคู่มีเจ้าของแล้ว บรรดาเมียๆ ของดาบส ต่างก็ไม่วางตนว่าไม่โสดแล้ว พากันมาให้ท่าทอดสะพานโยคีรูปงามกันมิเว้นวาย

 
2. ปางมหากาลไภรวะ (พระพิราพ)
เป็นปางดุร้ายปางหนึ่งของพระศิวะ ประเทศอินเดียถือว่าพระพิราพ หรือพระไภรวะนี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับนาฏศิลป์ เพราะท่านเป็นผู้ให้กำเนิดท่ารำที่เรียกว่า "วิจิตรตาณฑวะ" ซึ่งเป็นท่ารำท่าหนึ่งใน 108 ท่ารำของพระศิวะ ดังนั้นจึงถือว่าท่านเป็น "นาฏราช" ที่หมู่นาฏศิลป์อินเดียให้ความเคารพเกรงกลัว เพราะถือเป็นเทพที่บันดาลความเป็นความตายได้ แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นผู้ให้ชีวิตและปัดเป่าโรคภัย
 
3. ปางจักราธนมูรติ (วิษณุวาณุครหมูรติ)
 อันเนื่องจากพระวิษณุเทพได้ทำสงครามกับอสูรบนสวรรค์ และเกิดความเพลี่ยงพล้ำไม่อาจชนะฝ่ายอสูรได้ จึงได้ทำพิธีบูชาพระศิวะเทพขึ้น ด้วยการบูชาพระองค์ด้วยดอกบัววันละ 1,000 ดอกทุกวัน จนวันหนึ่งหาดอกบัวไม่ได้พระวิษณุเทพจึงควักลูกตาของตนเพื่อถวายบูชาแก่องค์ ศิวะเทพ พระองค์ทรงพอพระทัยมาก จึงประทานลูกล้อ หรือจักรหินสัญลักษณ์ของพระศิวะเทพเพื่อให้เป้นอาวุธของพระวิษณุต่อไป 

 
4. ปางนนทิศานุครหมูรติ (กายเป็นมนุษย์ เศียรเป็นโค)
 ปางนนทิศานุครหมูรติสรังคยานะเกิดมาไม่มีบุตรสืบสกุล จึงไปขอพระเป็นเจ้า วิษณุเทพได้ประทานบุตรมาให้ตน ด้วยพอใจการบวงสรวงบูชาของฤาษี บันดาลอิทธิฤทธิ์ให้เด็กถือกำเนิดจากสีข้างของพระองค์ ทารกนี้รูปร่างเหมือนพระศิวะ ทรงพระราชทานนาม นนทิเกศวร นนทิเกศวรได้พรจากพระศิวะ ต่อมานนทิได้นำพิธีทรมานร่างกายบนยอดเขามันธระเพื่อให้เข้าถึงพระศิวะเจ้า พระศิวะเทพโปรดปรานมาก ทรงปรากฏตัวให้เห็นและรับเอาฤาษีนนทิเป็นหัวหน้ามหาดเล็กรับใช้อยู่ที่เขา ไกรลาศ ทรงแต่งตั้งให้เป็นเทพบุตรนนทิเกศวร ส่วนพระชายาของเทพบุตรพระองค์นี้คือ นางสุยาศุ บ้างก็ว่าเทพบุตรพระองค์นี้ตัวเป็นมนุษย์ หัวเป็นโค

 
5. ปางกิรทารชุนมูรติ
 ท้าวอรชุน (ในมหากาพย์ภารตะ) ทำพิธีบูชาพระศิวะเพื่อขอประทานลูกธนูศักดิ์สิทธิ์ให้ตนเพื่อไปยิงอสูร ท้าวอรชุนได้บวงสรวงอยุ่ที่เขาไกรลาศ พระศิวะใช้มายาแปลงเป็นหมูป่าเข้าทำร้ายพราหมณ์หนุ่มและท้าวอรชุน พราหมณ์หนุ่มต้องการยิงหมูป่า อ้างว่าตนเห็นก่อน แต่ท้าวอรชุนไม่ยอม บอกว่าตนต่างหากที่เห็นก่อน จากนั้นทั้งคู่ก็เลยต้องเดิมพันด้วยการต่อสู้กัน ไม่ว่าท้าวอรชุนจะใช้อาวุธ ใดก็มีอาจทำร้ายพราหมณ์หนุ่มได้ จนเมื่อท้าวอรชุนทรุดตัวลงกราบ พระศิวะพอพระทัยมอบลูกธนูวิเศษให้ไปปราบอสูร

 
6. ปางราวันนานูครหมูรติ
 ทศกัณฐ์ เจ้าเมืองลงกา หลังจากทำสงครามกับท้าวกุเบร ได้เสด็จผ่านเทือกเขาหิมาลัย เห็นว่ามีทัศนียภาพอันน่ารื่นรมย์ ตั้งใจจะเข้าไปชมสถานที่ แต่เจอนนทิเกศวรหัวหน้ามหาดเล็กของพระศิวะเทพขวางทางไว้ เพราะเขาไกรลาศเป็นที่ประทับของพระศิวะเทพและพระนางปราวตี ห้ามผู้ใดล่วงล้ำเข้าสู่เขตพระราชฐานทศกัณฐ์โกรธ ขู่อาฆาตและสาปแช่งว่า นนทิต้องสิ้นชีพด้วยน้ำมือลิง แต่นนทิเกศวรบอกว่า ทศกัณฐ์ต่างหากที่ต้องสิ้นชีพด้วยน้ำมือลิง ทศกัณฐ์โกรธเตรียมจะยกเขาไกรลาศขึ้นทุ่ม แค่โยกเขาด้วยอิทธิฤทธิ์เท่านั้น บรรดาเทวดาและมนุษย์ก็เดือดร้อนหนีกันจ้าละหวั่น พระนางปราวตีได้ทูลขอให้พระศิวะให้แก้สถานการณ์ ทรงใช้เท้าเหยียบที่พื้นลงเบาๆ เพื่อให้เขาไกรลาศตั้งดังเดิม ทรงปราบพยศอสูรทศกัณฐ์จนยอมศิโรราบ พระศิวะเทพโปรดประทานดาบศักดิ์สิทธิ์ให้จากนั้นทศกัณฐ์ได้เดินทางกลับกรุง ลงกา
 
7. ปางกาลารีมูรติ
 ฤาษีตนหนึ่ง ได้ทำพิธีบูชาสวดมนตร์อ้อนวอนขอลูกกับพระศิวะเทพ พระศิวะทรงโปรดการบูชาจึงประทานลูกให้ แต่บอกว่า เด็กคนนี้จะอายุสั้น ฤาษีและภรรยา ได้เลี้ยงดูลูกจนอายุ 16 ปี ลูกชายไปได้บวงสรวงต่อพระศิวะระหว่างที่ชะตาถึงฆาตประจวบเหมาะว่า เป็นช่วงที่เด็กคนนี้กำลังบูชาศิวลึงค์อยู่พอดี พระยม-กาลแห่งความตายได้เดินทางจากเมืองนรกมารับตัวเด็กหนุ่ม พระศิวะเห็นดั่งนั้นทรงพิโรธ ทรงปรากฏกายออกจากศิวลึงค์เข้าเตะพระยม พระยมสู้ฤทธิ์พระศิวะไม่ได้จึงหนีไปพระศิวะประทานพรให้เด็กหนุ่มมีชีวิตเป็น อมตะ
 
8. ปางกานันทกามูรติ
 ปางนี้คือปางพระศิวะทำลายเทพเจ้าแห่งความรัก (กามเทพ) เมื่อพระนางสตีเผาร่างตนเองไปนั้น พระศิวะเสียใจมาก และเข้าสู่สมาธิเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ในที่สุดเมื่อพระนางมาจุติใหม่ โดยแบ่งภาคมาจากพระแม่ศักติ-ศิวา มาเป็นพระนางปราวตี กามเทพต้องทำหน้าที่เพื่อให้ศิวะเกิดความรัก เพื่อจะได้มีบุตรในการไปปราบอสูรชื่อ ทาราคา ในที่สุดเมื่อทุกอย่างสำเร็จ ทรงมีโอรสขึ้นมาคนหนึ่งชื่อ ขันธกุมาร หรือ กาติเกยะ หรือกุมารา หรือสุภามันยะเพื่อไปปราบอสูร
 
9. ปางอรรธนารีศวร (ครึ่งพระศิวะ ครึ่งพระอุมาเทวี)
 ปางนี้เป็นปางครึ่งหญิงครึ่งชายในรูปลักษณ์ทางประติมกรรมนั้น จะแบ่งซีกระหว่างพระศิวะกับพระอุมาเทวี พระศิวะอยู่ทางซีกขวา และพระอุมาเทวีอยู่ทางซีกซ้าย ซึ่งถ้าผู้ที่เข้าใจระบบความเชื่อแบบทวิลักษณะแบบจีน หรือ คัมภีร์หยิน-หยางย่อมเข้าใจได้ว่า ชายขวา-หญิงซ้าย นั่นคือสูตรตามแบบฉบับของคัมภีร์นี้ ปางนี้ได้กำเนิดขึ้นครั้งแรก ครั้งเดียว ในสมัยการสร้างจักรวาล กล่าวคือ พระพรหมได้รับภารกิจให้สร้างมนุษย์เพศชายเพียงเพศเดียว แต่เพศชายเพียงอย่างเดียวไม่มีกำลังในการขยายเผ่าพันธุ์ในโลกใด้ ครั้งจะสร้างเพศหญิงขึ้นมาก็ไม่รู้ว่าจะเอาแบบอย่างมาจากไหน พระพรหมจึงต้องบวงสรวงมหาเทวาธิเทวะ มหาเทวะ ศิวะเทพ เพื่อให้เสด็จมาแก้ปัญหาที่ค้างคาใจอยู่พระพรหมบวงสรวงจนเป็นที่พอใจก็เลย เสด็จมา นับเป็นครั้งแรกที่มาในปางอรรธนารีศวร เพศหญิงและเพศชายที่รวมกันอยู่ในร่างเดียวกัน ทำให้พระพรหมเข้าใจในกำลังเสริมของเพศคู่นี้ อันจะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์และชีวิตใหม่


 
==========================================
==========================================


 
พระแม่อุมาเทวี
 


 
พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมา หรือ ปารวตี คือพระนามแห่งพระแม่ผู้เป็นใหญ่ในจักรวาล เป็นเทวีแห่งอำนาจวาสนาและบารมีอันสูงสุด พระองค์ทรงประทานยศถาบรรดาศักดิ์ และความเป็นใหญ่แก่ผู้หมั่นบูชาต่อพระองค์อย่างสม่ำเสมอ อำนาจแห่งพระแม่อุมานั้น ยิ่งใหญ่หาสิ่งใดเทียบได้ พระองค์ทรงประทานชัยชนะเหนือศัตรู ประทานกำลังวังชาแห่งอิสตรี ทำลายสิ่งชั่วช้า ตลอดจนประทานบริวารและอำนาจในการปกครอง พระองค์ยังทรงประทานพรด้านความสมบูรณ์ ความอิ่มเอม ความผาสุขในการครองเรือน ครอบครัวที่เปี่ยมสุข ตลอดจนการคุ้มครองผู้ศรัทธาให้ปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง

พระแม่อุมา ทรงเป็นมารดาแห่ง พระพิฆเนศ เป็นชายาแห่ง พระศิวะ มหาเทพผู้ทำลายโลก 1 ใน 3 แห่ง พระตรีมูรติ
พระแม่อุมาจึงเป็น 1 ใน 3 แห่งพระตรีศักติ ด้วย (ตรีศักติ หมายถึง พระแม่ทั้งสาม ได้แก่ พระแม่อุมา พระแม่ลักษมี พระแม่สรัสวตี) พระองค์มีวิมานสถิต ณ เขาไกรลาส เช่นเดียวกับพระศิวะเทพ มีสัญลักษณ์ประจำพระองค์คือ โยนี (ฐานรองศิวลึงก์) มีทิพยรูปเป็นหญิงที่งดงาม เปี่ยมไปด้วยความเมตตา เป็นมารดาแห่งสรรพชีวิตทั้งปวง ฉลองพระองค์ด้วยอาภรณ์หลากสีสัน ประดับด้วยทองคำอย่างวิจิตร


รูปร่างลักษณะของพระอุมาในปางต่างๆ ได้แยกออกเป็น 3 ปาง ดังนี้
1.พระแม่มหาอุมาเทวี หรือ พระแม่ปาราวตี เป็นลักษณะของเทวีผู้เปี่ยมล้นด้วยความงามและเมตตา เปรียบเสมือนพระแม่ของโลก ผู้ที่บูชาในปางนี้ จะได้รับพรคือ สุขภาพแข็งแรง เป็นเมตตามหานิยม และมีความสุขความเจริญ
2.พระแม่ทุคาเทวี เป็นรูปทรงของพระแม่อุมาทรงเสือหรือสิงห์โต มี8กรบ้าง 10กรบ้าง ผู้บูชาในปางนี้จะได้รับพรคือ อำนาจและเสน่ห์ ทำให้มีผู้คนนับถือยำเกรง
3.พระแม่ทุรคา เป็นปางปราบมารของพระแม่อุมาเทวี ปางร้ายจะมีลักษณะน่ากลัว ใบหน้าดุร้าย แลบลิ้นยาวดื่มกินเลือดอสูร มีพระหัตถ์มากมาย ทุกพระหัตถ์ถืออาวุธครบถ้วน ผู้ที่บูชาปางนี้ จะแคล้วคลาดปลอดภัยจากไสยอาคม ภูตผีปีศาจ และสัตว์ร้ายทั้งปวง อีกทั้งยังให้อำนาจและพลังศักดิ์สิทธิ์อีกด้วย

ตำนานพระแม่อุมาเทวี

ตามตำนานโบราณกล่าวกันว่า "พระแม่อุมา " นั้นแต่เดิมเกิดขึ้นจากการที่พระศิวะใช้พระหัตถ์ข้างขวาลูบเบาๆ ที่กลางพระอุระ พระแม่อุมาจึงจุติขึ้นกลางทรวงอกของพระศิวะ บ้างก็กล่าวไว้ว่าพระแม่อุมาเทวีเป็นธิดาของ ท้าวหิมวัต และ พระนางเมนกา เทพผู้เป็นใหญ่แห่งภูเขาหิมาลัย แต่ในบางคัมภีร์กล่าวไว้ว่าพระอุมาเป็นธิดาของ พระทักษะประชาบดี และเป็นพี่น้องกับ พระแม่คงคา (พี่สาวของพระแม่อุมา) พระอุมาในภาคนั้นมีพระนามว่า พระสตี เป็นชายาของ พระมุนีภพ คือ พระศิวะ อีกภาคหนึ่ง

เรื่องราวในตอนนี้คงเป็นตอนก่อนกำเนิดเป็นพระแม่อุมาเทวี ซึ่งได้ปรากฏเป็นเรื่องเล่าขานกัน เริ่มต้นจากความจงรักภักดีด่อพระสวามี (พระศิวะ) โดยพระนางได้ใช้อิทธิฤทธิ์บันดาลให้ไฟเผาไหม้ตนเอง

ซึ่งกล่าวไว้ว่า พระศิวะ ทรงอวตารลงมาในภาคของ มุนีภพ แต่ก็ด้วยความที่พระองค์ทรงแปลงร่างอวตารลงมาในชุดนุ่มห่มแบบปอนๆ มอซอ และมีสังวาลสวมคอเป็นประคำโดยนำกระดูกมาร้อยต่อกัน ไว้ผมหนวดเครารุงรัง ชอบนอนตามป่าช้า ร่างกายมีกลิ่นตัวเหม็นสาบ (แตกต่างจากการแบ่งภาคอื่นๆ) ทั้งนี้ก็เพื่อเสริมสร้างบารมี ด้วยการบำเพ็ญตน บำเพ็ญตบะ ซึ่งกาลต่อมาด้วยบุญกรรมที่สร้างสมกันมาแต่ก่อน ทำให้พระนางสตีมองเห็นรูปกายที่แท้จริงว่าพระมุนีภาพองค์นี้ก็คือ ภาคหนึ่งแห่งองค์พระศิวะผู้เป็นผู้ใหญ่ในสามโลก พระนางสตีจึงตกลงใจอยู่คอยรับใช้ดูแลในฐานะชายา ฝ่ายพระทักษะประชาบดีมิได้เห็นด้วยกับความคิดของพระนางสตีนัก แต่ก็มิได้ขัดขวางแต่ประการใด ก็มีความคิดที่มาได้ไม่ชอบใจในตัวของพระมุนีภพเลย กลับแสดงความรังเกียจในการกระทำ ทั้งรูปร่าง การแต่งกายของพระมุนีภพมาโดยตลอด

 

 

พระทักษะประชาบดีนั้นมีพระธิดามากมายนัก และก็มากด้วยราชบุตรเขยเช่นกัน เป็นต้นว่า พระจันทร์ พระยมราช และพระมุนีอีกจำนวน 11 องค์ ซึ่งล้วนแต่มีอิทธิฤทธิ์บารมีทั้งสิ้น

ฝ่ายบรรดาราชบุตรเขยต่างๆ ก็คอยเอาอกเอาใจผู้เป็นพ่อตาอยู่เป็นนิจตลอดมา เว้นก็แต่พระมนีภพผู้เป็นสวามีพระนางสตีเท่านั้น ที่ไม่เคยเข้ามาเอาใจเลย จึงเป็นเหตุผลอีกกรณี ที่ทำให้พระทักษะประชาบดียิ่งไม่พอใจมากกว่าเดิมขึ้นไปอีก

จนกระทั่งวันหนึ่งพระทักษะประชาบดีต้องการจัดพิธียัญกรรม โดยพิธีการนี้ได้เชิญเหล่าเทพต่างๆ บนสวรรค์ พร้อมทั้งเหล่าราชบุตรเขยเข้าร่วมในพิธีกรรมนี้ทุกองค์ แต่ก็ยกเว้นพระมุนีภพเพียงพระองค์เดียว ที่ไม่ได้ให้เข้าร่วมพิธียัญกรรมในครั้งนี้ด้วย ด้านพระนางสตีเมื่อได้ฟังดังนั้น จึงเข้าสอบถามกับผู้เป็นบิดาถึงเรื่องนี้ ว่ามีเหตุอันใดจึงไม่เชิญพระสวามีของตนให้เข้าร่วมพิธียัญกรรม ฝ่ายผู้เป็นพ่อแรกๆ ก็กล่าวถึงการกระทำ การแต่งกายของพระมุนีภพว่าไม่เหมาะสมและพูดจาดูหมิ่น ดูถูกพระมุนีภพในทางที่เสียหาย ซึ่งทุกสิ่งที่กล่าวได้กระทำต่อหน้าราชบุตรเขยองค์อื่นๆ ที่มาร่วมในงานนี้ แต่พระนางสตีก็อ้อนวอนต่อบิดา ให้พระสวามีของตนได้เข้าร่วมในพิธีนี้ จนพระทักษะประชาบดีเกิดความรำคาญเป็นยิ่งนัก จึงกล่าววาจาด้วยเสียงอันดัง ต่อหน้าผู้เข้ามาร่วมในพิธีด้วยความดูหมิ่น รังเกียจต่อพระมุนีภพยิ่งนัก จนในที่สุดพระนางสตีผู้จงรักภักดีต่อสวามีของตน สุดที่จะทนต่อไปได้ ในวาจาที่รับฟังจากพระบิดาตนเองที่กล่าวประจานพระมุนีต่อหน้าผู้อื่น

พระนางสตีจึงตัดสินพระทัยแสดงอิทธิฤทธิ์ เปล่งแสงเปลวไฟอันร้อนแรงจากภายในกาย จนเผาตนเองมอดไหม้ต่อหน้าพระบิดาและผู้ร่วมพิธี จนสิ้นชีพในที่สุด (บางคัมภีร์กล่าวไว้ว่าพระนางสตีกระโดดเข้ากองไฟในพิธี)

ฝ่ายพระศิวะในภาคพระมุนีภพ เมื่อได้ฟังคำเล่าบอกจาก พระฤๅษีนารท (ฤาษีนารอด) ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับพระชายาของพระองค์ทรงเศร้าเสียใจเป็นที่สุด จากความเศร้าที่ทรงมีอยู่นั้น จึงทรงดึงเส้นผมออกมาปอยหนึ่ง ก็บังเกิดเป็นอสูรร่างกายใหญ่โต มีฤทธิ์เดชมากมาย มีพันเศียร พันกร สวมประคำหัวกระโหลกและงู นามว่า อสูรวีรภัทร บางคัมภีร์กล่าววาอสูรวีรภัทรนี้แบ่งภาคโดยออกจากพระโอษฐ์ของพระศิวะ
แล้วพระศิวะจึงได้สั่งให้อสูรวีรภัทรไปยังพิธีที่จัดขึ้นและให้ทำลายพิธีนั้นให้สิ้นในที่สุด ฝ่ายอสูรวีรภัทรเมื่อรับฟังคำสั่งจึงตรงไปยังพิธีทันที พร้อมด้วยเหล่าสมุนยักษนับถัน เมื่อไปถึงจึงเข้าอาระวาดทำลายพิธี และบรรดาเทพทั้งหลายที่มาร่วมงานต่างก็หลบหนีทันบ้างไม่ทันบ้าง ก็พากันบาดเจ็บล้มตายไปมากมาย โดยอสูรวีรภัทร เมื่อทำลายพิธีแล้ว จึงได้ประกาศในพิธีว่า นี่คือโทษที่ต้องได้รับจากพระศิวะ ส่วนพระทักษะประชาบดีบิดาของพระสตีได้ถูกอสูรวีรภัทรพ่นไฟใส่พระเศียรจนขาดกระเด็นมอดไหม้เป็นจุล และเมื่อหัวขาดแล้วอสูรวีรภัทรจึงนำหัวนั้นโยนเข้ากองไฟมอดไหม้ไปด้วยความแค้นที่ดูหมิ่นในศักดิ์ศรีของพระศิวะ เมื่อทกอย่างเสร็จตามคำบัญชาของพระศิวะ อสูรวีรภัทรพร้อมสมุนยักษ์จึงยกทัพกลับไปเข้าเฝ้าพระศิวะดังเดิม อสูรวีรภัทร พร้อมสมุนยักษ์จึงทัพกลับไปเข้าเฝัาพระศิวะดังเดิม

เหตุการณ์นี้ทำให้เหล่าเทพทั้งหลาย รวมถึงบรรดาราชบุตรเขยที่รอดชีวิตมาได้ พากันไปขอความช่วยเหลือจาก พระพรหม เพื่อให้ทรงแนะหาทางแก้ไขว่าควรจะทำเช่นไรจึงจะทุเลาความโกรธกริ้วของพระศิวะได้ เพื่อไม่ให้โลกถูกทำลายลงไป เพราะพระศิวะเป็นเทพผู้ทำลาย พระพรหมเมื่อได้ฟังแล้วจึงได้นำเหล่าเทพทั้งหลายนั้นไปเข้าเฝ้าพระศิวะที่เขาไกรลาส เพื่อขอความเห็นใจและขมาในสิ่งที่เกิดขึ้น จนในที่สุดการเจรจาพูดคุยกันนั้น พระศิวะจึงยอมสงบศึกพร้อมกับช่วยชุบชีวิตเหล่าเทพที่ได้เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้น ทั้งนี้การชุบชีวิตนั้นก็รวมถึงพระทักษะประชาบดีผู้เป็นพ่อตาของพระองค์ด้วย แต่เศียรที่มอดไหม้ไปนั้นมิได้ทรงนำมาคืนให้ พระองค์ได้นำหัวแพะมาต่อให้กับพระทักษะประชาบดี เพื่อแสดงให้เหล่าเทพทั้งหลายได้เห็นความโง่ของพระทักษะประชาบดี แม้แต่รูปกายภายนอกจะเป็นเช่นไร ก็ไม่สมควรดูถูกดูหมิ่นเหยียดหยามผู้นั้นโดยมิได้ดูถึงเนื้อแท้และการกระทำที่ดีของเขาเลย

เมื่อเรื่องทุกอย่างจบลงด้วยดีแล้ว พระศิวะจึงมุ่งไปบำเพ็ญตบะ บำเพ็ญตนเป็นมุนีต่อในป่าหิมพานต์
เพื่ออุทิศกุศลให้กับพระนางสตี ผู้เป็นชายาของพระองค์ต่อไป...


กำเนิดพระอุมาเทวี
(ชายาแห่งพระมหาศิวะเทพ)

แต่ก็ด้วยวาสนาของการเป็นคู่ครองกันในอดีตชาติ ในช่วงเวลาที่พระศิวะทรงเสด็จไปยังดินแดนอิษชิปรัสกะเพื่อทำสมาธิ ท้าวหิมวัตจึงทรงเสด็จเข้าเฝ้า กล่าวสรรเสริญขออุทิศตนเป็นทาสรับใช้ของพระศิวะเทพ จนพระองค์พอพระทัยยิ่งจึงลืมพระเนตรออกจากสมาธิ และกล่าวขอให้ท้าวหิมวัตช่วยจัดสถานที่นั่งสมาธิ ณ คงคาวัตวัณในแคว้นหิมาลัย และสั่งห้ามมิให้ใครเข้ามารบกวนในที่นั่นเป็นเด็ดขาด ท้าวหิมวัตจึงได้ทำตามพระประสงค์ จนรุ่งเช้าท้าวหิมวัตจึงพาพระอุมาให้นำผลไม้ถวายต่อพระศิวะ พร้อมทั้งกล่าวว่าขอให้พระองค์ทรงรับพระประวัติเป็นข้ารับใช้ด้วย เมื่อพระศิวะลืมพระเนตร เห็นความงดงามของพระอุมา จึงเกิดความรักและพอพระทัยยิ่งนัก แต่ก็ทรงหักพระทัยเข้าสู่สมาธิโดยทันที

กล่าวต่อจากเนื้อหาที่พระนางสตีที่ได้สละชีวิตของพระนาง เพื่อปกปัองศักดิ์ศรีแห่งพระศิวะเทพผู้สวามี ด้วยการใช้ไฟเผาไหม้ร่างกายตนจนสิ้นชีพ ในการต่อมา พระศิวะเทพจึงได้เข้าสู่การบำเพ็ญสมาธิ โดยมิได้ติดต่อผู้ใดเป็นระยะเวลานาน จนบรรดาทวยเทพทั้งหลายพากันเป็นห่วงถึงจักรวาล จึงได้รวมกันไปเข้าเฝ้าพระวิษณุเทพเพื่อขอให้หาหนทางแก้ไขเรื่องดังกล่าว ชึ่งพระองค์ก็ได้กล่าวว่าคงต้องช่วยกันนั่งสมาธิส่งจิตถึงพระแม่ศักดิ-ศิวา ขอให้พระองค์ทรงอวตารแบ่งภาคมาเกิดบนโลกมนุษย์อีกครั้ง เพื่อให้พระศิวะทรงออกจากสมาธิกลับมาปกครองจักรวาลแห่งนี้

พระอุมา จึงถือกำเนิดในคืนที่ 9 เดือนมธุ (มีนาคม-เมษายน) ตั้งแต่แรกเกิดพระอุมาทรงเป็นที่รักยิ่งของทุกๆ คน จึงได้นามว่าพระปารวตี... ต่อมาเมื่อเติบใหญ่ พระอุมามีความตั้งใจยิ่งที่จะออกบำเพ็ญพรต เมื่อได้ศึกษาวิชาจากพระอาจารย์ต่างๆ จนชำนาญเก่งกาจมีความสามารถระลึกชาติได้

(เมื่อเยาว์วัย พระฤาษีนารทได้ทำนายชะตาไว้ว่า พระอุมานั้นทรงมีลักษณะมงคลยิ่งนักและจะนำความสุขมาสู่ครอบครัว คู่ครองของพระนางจะมีลักษณะเป็นโยคีนุ่งห่มหนังเสือหนังช้าง!!) ดังนี้แล้ว ท้าวหิมวัตและพระนางเมนกาตระหนักดีว่าการทำนายของพระฤาษีนารท (พระฤาษีนารอด) แม่นยำยิ่งนัก แต่ก็ไม่รู้ว่าจะมีหนทางใดที่จะนำพระอุมา ธิดาแห่งตนให้พบกับพระศิวะเทพได้ ด้วยว่าพระศิวะเทพทรงอยู่ในระหว่างการบำเพ็ญตนเข้าสมาธิ
 เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น ท้าวมหิมวัตจึงสวดอ้อนวอน เพื่อให้พระศิวะลืมพระเนตรอีกครั้งและกล่าวว่าในทุกๆ วันตนและบิดาจะมาเป็นผู้เคารพบูชาพระองค์ พระศิวะจึงกล่าวตอบกับท้าวหิมวัตว่า เหตุที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการบำเพ็ญสมาธิคือสตรี ซึ่งผู้บำเพ็ญตนที่ดีอาจถูกทำลายสมาธิลงได้ สตรีคือฐานแห่งความรักใคร่ความสำราญ สตรีจะเป็นผู้ทำลายสิ้น

พระอุมาจึงกล่าวแสดงความเคารพต่อองค์ศิวะ และทูลอย่างสุภาพว่า พระศิวะคือจ้าวแห่งสมาธิกรรมูฐานเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดแห่งจักรวาล ไม่มีการโอนเอนต่อพลังที่เหนือธรรมชาติ แล้วใยจึงเกรงกลัวต่อสตรีอย่างพระนางด้วย พระศิวะเมื่อได้ฟังจึงต้องยอมจำนนกับคำโต้ตอบ และได้อนุญาตให้พระอุมาและสหายของพระนางเข้าออกได้ เพื่อรับใช้ตามที่ต้องการ ส่วนพระอุมา ก็ได้เข้ารับใช้มหาเทพด้วยการล้างพระบาทและดื่มน้ำนั้นเป็นประจำ ถวายการรับใช้อย่างไม่ย่อท้อ พร้อมทั้งขับกล่อมบทเพลงแสดงความเคารพต่อพระศิวะเรื่อยมา

พระศิวะเทพปฏิบัติสมาธิด้วยโดยปฏิญาณไว้ว่า ผู้ที่จะเป็นคู่ครองจะต้องเป็นโยคินีด้วย จึงจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติ ฝ่ายฤาษีนารท จึงแนะนำให้พระอุมาบำเพ็ญตนที่คงคาวัตวัณเป็นเวลาสามพันปีเทพ โดยฤดูร้อนให้ก่อไฟรายล้อม และสวด "โอม นะมัส ศิวายะ" ส่วนในฤดูฝนให้นั่งบนผืนดินปล่อยให้กายชุ่มน้ำฝน และให้สำรวมจิตเป็นที่ตั้ง ในฤดูหนาวให้ประทับในน้ำเพื่อทำสมาธิต่อพระศิวะ ปีแรกให้ทานผลไม้ ปีต่อมาเป็นผักและใบไม้ ปีที่สามอดอาหารและทำสมาธิอย่างเดียว

สิ่งที่พระอุมาปฏิบัตินี้ พระศิวะเทพผู้มองเห็นการกระทำจึงพอพระทัยนักในฐานะโยคินี แต่พระองค์ต้องพิสูจน์ในความมั่นคงของพระอุมาด้วย จึงให้ฤๅษีเข้าทำลายความตั้งมั่นของพระอุมา ฝ่ายพระอุมาก็ทรงยึดมั่นต่อพระศิวะมิอาจเปลี่ยนแปลงความตั้งใจของตนลงได้ จนพระศิวะแปลงเป็นพราหมณ์เฒ่ามากล่าวด้วยวาจาต่างๆ เพื่อให้จิตใจสั่นคลอน แต่ก็มิเป็นผล สุดท้ายพราหมณ์เฒ่าจึงกลับกลายเป็นพระศิวะเทพต่อหน้าพระอุมา และกล่าวคำรับนางเป็นคู่ครอง และได้เข้าสู่พิธีอภิเษกสมรส พระศิวะและพระแม่อุมาจึงเป็นเทพคู่ครองกันแต่นั้นเป็นต้นมา...
 
==========================================
==========================================

พระพิฆเนศวร 

พระพิฆเนศ มีกายเป็นมนุษย์ มีเศียรเป็นช้าง อีกชื่อหนึ่งจึงเรียกว่า คชานนท์ มีงาข้างเดียว อ้วนเตี้ย ท้องพลุ้ย หูยาน พระวรกายสีแดง สีขาว สีเหลือง ฯลฯ นุ่งห่มภูษาแดง มี ๔ กร ถือบ่วงบาศ ขอสับช้าง และมีเทพศัสตราวุธอีกหลายชนิด ซึ่งได้รับประทานจากพระศิวะ มีพาหนะบริวาร คือ หนู

ชนพื้นเมืองของอินเดีย นอกจากจะมีลัทธิการบูชาสัตว์ หรือลัทธิแห่งชัยชนะเหนือธรรมชาติแล้ว ยังเชื่อว่า หนู เป็นสัญลักษณ์ของความมืด

พระพิฆเนศทรงขี่หนู จึงหมายถึงชัยชนะของแสงอาทิตย์ ที่ขจัดความมืดให้หมดสิ้นไป เป็นเทพเจ้าผู้ทรงขจัดอุปสรรคทั้งปวง เป็นเทพเจ้าแห่งความรอบรู้ ความฉลาด ความสำเร็จ เป็นเทพประจำเรือน ผู้ประทานความอุดมสมบูรณ์ และคุ้มครองป้องกันสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง จึงอาจกล่าวได้ว่า พระพิฆเนศเป็นเทพเจ้าแห่งจักรวาล ก็ว่าได้

ในคราวที่พระศิวะเทพทรงไปบำเพ็ญสมาธิเป็นระยะเวลานานอยู่นั้น พระแม่ปารวตีเนื่องจากอยู่องค์เดียวเลยเกิดความเหงา และ ประสงค์ที่จะมีผู้มาคอยดูแลพระองค์และป้องกันคนภายนอกที่จะเข้ามาก่อความวุ่นวายในพระตำหนัก

ในจึงทรงเสกเด็กขึ้นมาเพื่อเป็นพระโอรสที่จะเป็นเพื่อนในยามที่องค์ศิวเทพเสด็จออกไปตามพระกิจต่างๆมีอยู่คราวหนึ่ง เมื่อพระนางทรงเข้าไปสรงในพระตำหนักด้านในนั้นองค์ศิวเทพได้กลับมาและเมื่อจะเข้าไปด้านในก็ถูกเด็กหนุ่มห้ามไม่ให้เข้า เนื่องจากไม่รู้ว่าเป็นใครและในลักษณะเดียวกันศิวเทพก็ไม่ทราบว่าเด็กหนุ่มนั้นเป็นพระโอรสที่พระแม่ปารวตีได้เสกขึ้นมา

เมื่อพระองค์ถูกขัดใจก็ทรงพิโรธและตวาดให้เด็กหนุ่มนั้นหลีกทางให้พลางถามว่ารู้ไหมว่ากำลังห้ามใครอยู่ ฝ่ายเด็กนั้นก็ตอบกลับว่าไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าเป็นใครเพราะตนกำลังทำตามบัญชาของพระแม่ปารวตี และทั้งสองก็ได้ทำการต่อสู้กันอย่างรุนแรง จนเทพทั่วทั้งสวรรค์เกิดความวิตกในความหายนะที่จะตามมา และในที่สุดเด็กหนุ่มนั้นก็ถูกตรีศูลของมหาเทพจนสิ้นใจและศีรษะก็ถูกตัดหายไป

ในขณะนั้นเองพระแม่ปารวตีเมื่อได้ยินเสียงดังกึกก้องไปทั่วจักรวาลก็เสด็จออกมาด้านนอกและถึงกับสิ้นสติเมื่อเห็นร่างพระโอรสที่ปราศจากศีรษะ และเมื่อได้สติก็ทรงมีความโศกาอาดูรและตัดพ้อพระสวามีที่มีใจโหดเหี้ยมทำร้ายเด็กได้ลงคอ โดยเฉพาะเมื่อเด็กนั้นเป็นพระโอรสของพระนางเอง

เมื่อได้ยินพระนางตัดพ้อต่อว่าเช่นนั้นองค์มหาเทพก็ทรงตรัสว่าจะทำให้เด็กนั้นกลับพื้นขึ้นมาใหม่แต่ก็เกิดปัญหา เนื่องจากหาศีรษะที่หายไปไม่ได้ และยิ่งใกล้เวลาเช้าแล้วต่างก็ยิ่งกระวนกระวายใจเนื่องจากหากดวงอาทิตย์ขึ้นแล้วก็จะไม่ ่สามารถชุบชีวิตให้เด็กหนุ่มฟื้นขึ้นมาได้เมื่อเห็น

เช่นนั้นพระศิวะเลยบัญชาให้เทพที่มาช่วยให้เอาศีรษะสิ่งที่มีชีวิตแรก
ที่พบมาและปรากฎว่าเหล่าเทพได้นำเอาศีรษะช้างมาซึ่งพระศิวะทรงนำศีรษะมาต่อให้และชุบชีวิตให้ใหม่พร้อมยกย่อง ให้เป็นเทพที่สูงที่สุด และขนานนามว่า พระพิฆเนศวร ซึ่งแปลว่าเทพผู้ขจัดปัดเป่าอุปสรรคและยังทรงให้พรว่าในการประกอบ
พิธีการต่างๆทั้งหมดนั้นจะต้องทำพิธีบูชาพระพิฆเนศวรก่อนเพื่อความสำเร็จของพิธีนั้น

ความสำคัญแต่ละส่วนของพระวรกาย
เนื่องจากพระพิฆเนศวรมีพระวรกายที่ไม่เหมือนเทพอื่นๆนั้น ได้มีการอธิบายถึงพระวรกายของพะองค์ท่านดังนี้
1. พระเศียรของท่านหมายถึงวิญญาณซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการมีชีวิต
2. พระวรกายแสดงถึงการที่เป็นมนุษย์ที่อยู่บนพื้นปฐพี
3. ศีรษะช้างแสดงถึงความเฉลียวฉลาด
4. เสียงดังที่เปล่งออกมาจากงวงหมายถึงคำว่า โอม ซึ่งเป็นเสียงแสดงถึงความเป็นสัจจะของสุริยจักรวาล
5. หระหัตถ์บนด้านขวาทรงเชือกบ่วงบาศน์ที่ทรงใช้ในการนำพามนุษย์ไปสู่เส้นทางแห่งธรรมะและหลุดพ้นพร้อมทรงขจัดอุปสรรคในระหว่างทาง
6. พระหัตถ์บนซ้ายทรงเชือกขอสับที่ใช้ในการป้องกันและพันฝ่าความยากลำบาก
7. มือขวาล่างทรงงาที่หักครึ่งซึ่งพระองค์ทรงใช้เป็นปากกาในการเขียนมหากาพย์มหาภารตะให้มหาฤษี
เวทวยาสมุนีและเป็นสัญญลักษณ์แห่งความเสียสละ
8. อีกมือทรงลูกประคำที่แสดงว่าการแสวงหาความรู้จะต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
9.ขนมโมณฑกะหรือขนมหวานลัดดูในงวงเป็นการชี้นำว่ามนุษย์จะต้องแสวงหาความหวานชื่นในจิตวิญญาณของตนเองเพื่อที่จะได้มีจิตเอื้อเพื้อเผื่อแผ่ให้กับคนอื่นๆ
10. หูที่กว้างใหญ่เหมือนใบพัดหมายความว่าท่านพร้อมที่รับฟังสิ่งที่เราร้องเรียนและเรียกหา
11. งูที่พันอยู่รอบท้องท่านแสดงถึงพลังที่มีอยู่โดยรอบ
12. หนูที่ทรงใช้เป็นพาหนะแสดงถึงความไม่ถือองค์และพร้อมที่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตที่เล็กและเป็นที่รังเกียจของมนุษย์ส่วนมาก

 

==========================================
==========================================

พระแม่สุรัสวดี


 

พระแม่สรัสวดี คือเทวีแห่งสติปัญญาคือชายาแห่งพระพรหมผู้สร้างโลก เป็นเทวีที่งดงามมาก พระฉวีวรรณผิวขาวผุดผ่องเปรียบดั่งไข่มุก หรือหิมะ อาภรณ์ผ้าไหมแก้วขาวพิสุทธิ์ประดับไปด้วยเพชร ระยิบระยับแวววาวสุกใสไปทั้งองค์ ประทับบนหงส์ และนกยูง มีเครื่องดนตรีที่ชื่อว่า"วีณา" (พิณ) อันศักดิ์สิทธิ์ มีน้ำใจอันดีเป็นยิ่งนัก พระองค์ประทับอยู่ในวิมาน ณ สวรรค์ชั้นพรหม หรือพรหมโลก เป็นมหาเทวีหนึ่งในสามเทวีสูงสุด และยังเป็นบรมครูของพระคเณศท่านถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆให้แก่องค์พระพิฆเณศ ด้วย ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในประเทศอินเดียยังมีแม่น้ำสายที่สำคัญมากที่ชื่อ สรัสวดี อีกด้วย

พระองค์ยังเป็นผู้ให้กำเนิดบทสวดมนต์บทแรกของจักรวาล ชาวฮินดูยังนับถือพระสรัสวดีเป็น เทวีแห่งเวทมนต์ คาถา และการประกอบพิธีกรรม ฉะนั้น หากมีการประกอบพิธีบูชาเทพหรือเทศกาลใดๆแล้ว ถ้าอัญเชิญ พระพิฆเนศ เป็นเทพองค์แรกก็จะทำให้พิธีนั้นๆเกิดสิริมงคลขึ้น และการอัญเชิญ พระแม่สรัสวตี ร่วมด้วย ก็ย่อมบันดาลให้การสวดมนต์และการประกอบพิธีกรรมทุกขั้นตอน ดำเนินไปอย่างศักดิ์สิทธิ์ มีพลังเข้มข้นและมีประสิทธิภาพสูงสุด 

*** เชื่อกันว่าพระสรัสวดีทรงถือกำเนิดโดยเทวานุภาพแห่งพระพรหม โดยมีพระนามในเบื้องแรกว่า "ศตรูปา"ต่อมาได้เป็นชายาของพระพรหม และทรงช่วยพระพรหมสร้างสรรพสิ่งในโลก แม้แต่มนุษย์คนแรกก็เกิดขึ้นมาจากการสร้างสรรค์นี้ ในอีกฐานะหนึ่งเทพนารีองค์นี้ยังทรงเป็นมารดาแห่งพระเวทซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะเป็นรากฐานของอารยธรรมอินเดีย

พระสรัสวดีทรงได้รับการยกย่องในคัมภีร์ของทางมหายานในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นผู้อุปถัมป์ความรู้สติปัญญาและความทรงจำ เหมือนกับคติฮินดูทุกอย่างและทรงมีพระนามในทางมหายานโดยเฉพาะว่า "อารยาสรัสวดี"(Arya Saravati)หรือพระนางตารา(Tara)พระอารยาสรัสวดีองค์นี้ทรงเป็นศักติชายาของพระโพธิสัตว์มัญชุศรี อีกทั้งบางคัมภีร์พระองค์ก็ปรากฎองค์ร่วมกับพระโพธิสัตว์องค์ที่สำคัญที่สุด คือ "พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร"อีกด้วย

 พระนางสุรัสวดี ทรงมีพระนามเรียกขาน อาทิ วัค วัคเทวี วาคิสวารี ภารตี วาณี สาวิตรี และอื่นๆอีกภาคนึงของพระแม่สุรัสวดีคือพระนางคายตรีมนตรา ความเป็นมาของพระนางสุรัสวดี มีมากมายหลากหลายคัมภีร์จึงจะขอเล่าเป็นบางส่วนดังจะเสนอ ในคัมภีร์มัสยาปุราณะ กล่าวไว้ว่า พระพรหมธาดาเป็นผู้สร้างพระนางขึ้น (เปรียบได้ว่าพระนางเป็นเสมือนพระธิดาของพระองค์) กาลต่อมาพระพรหมท่านเกิดหลงรักในธิดาองค์นี้ จึงได้ทำการอภิเษกกับธิดาของพระองค์เองในด้านของพระนางสุรัสวดีเมื่อแรกที่กำเนิดมาได้รับประทานพรจากสวรรค์ไว้ว่าให้เคลื่อนไหวไปได้ดังคิด
 
ไม่ว่าจะไปทิศใดก็ตาม ด้วยเหตุนี้เองพระพรหมจึงต้องเฝ้าติดตามดูแลคุ้มครองพระนางให้ได้เสมอ จึงเป็นเหตุให้พระองค์ทรงมีพระพักตร์ 5 พักตร์เพื่อดูแลนางทุกหนแห่งคัมภีร์วิษณุโบราณบันทึกไว้ว่าเมื่อพระพรหมเนรมิตพระนางสุรัสวดีขึ้นมาแล้วได้ประทานคัมภีร์ด้านอักษรเทวะนาครี และอักษรภาษาสันสกฤตให้แก่พระนาง พระนางจึงได้ศึกษาคัมภีร์จนแตกฉาน เก่งทางด้านนี้ความสามารถนั้นเหนือกว่าผู้ใดบนสรวงสวรรค์ กล่าวกันว่าพระนางเป็นเจ้าแม่หรือเทพีแห่งอักษาศาสตร์ด้วย พระนางเป็นผู้ให้กำเนิดอักษรเทวะนาครี ซึ่งเป็นตัวอักษร (เขียน) ของอักษรภาษาสันสกฤต หรือภาษาอินดี ในอินเดียปัจจุบัน บางตำนานกล่าวไว้ว่าพระนางสุรัสวดี เป็นเทพธิดาแห่งน้ำ (ในอินเดียมีแม่น้ำชื่อสรัสวดี) ซึ่งหลักฐานจากหนังสือมหาภารตะกล่าวว่าพระนางเป็นผู้ให้กำเนิดน้ำอันบริสุทธิ์แก่มวงมนุษย์สัตว์และพื้นดินอีกตำนานที่จะขอเล่านั้นแต่เดิม

==========================================
==========================================

พระแม่ลักษมี 

พระแม่ลักษมี คือเทวีแห่งความงดงาม ความร่ำรวย และความอุดมสมบูรณ์ พระองค์มักประทานความสำเร็จในการประกอบกิจการ การเจรจาต่อรอง การทำมาค้าขาย การประกอบธุรกิจทุกสาขา ตลอดจนประทานโภคทรัพย์ เงินทอง สมบัติ แก่ผู้หมั่นบูชาพระองค์และประกอบความดีอยู่เป็นนิจ

พระแม่ลักษมี มีกำเนิดจากฟองน้ำ ในคราวเทวดาและอสูร กวนเกษียรสมุทร ทำน้ำอมฤต จึงได้นามว่า ชลธิชา (เกิดแต่น้ำ) หรือ กษีราพธิตนยา (ลูกสาวแห่งทะเลน้ำนม)

ในขณะที่ผุดขึ้นมานั้นนั่งมาในดอกบัวและมือถือดอกบัวด้วย จึงมีอีกนามหนึ่งว่า ปัทมา หรือ กมลา แต่ในคัมภีร์วิษณุปุราณะจะกล่าวไว้ว่า พระแม่ลักษมีเป็นธิดาของพระฤาษีภฤคุกับนางขยาติ และยังกล่าวต่อไปอีกว่าพระแม่ลักษมีเป็นมารดา พระกามเทพ ด้วย

พระแม่ลักษมี ผู้ศรัทธาจะถือกันว่าเป็น เทพนารีผู้อำนวยโชค มีน้ำพระทัยเมตตาปราณีอยู่เป็นนิจ เป็นตัวอย่างแห่งนางที่งามตลอดทั้งรูปและกิริยามารยาท มีวาจาเปี่ยมด้วยเสน่ห์และไพเราะ ทั้งถือกันว่าเป็นผู้นำมาซึ่งความเจริญทุกประการ นับกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์บรรดาสตรีทุกชั้น ส่วนรูปมักเขียนเป็นสตรีที่งามยิ่งมี 2 กรอย่างธรรมดา (บางแห่งก็ว่ามี 4 กร) สีกายเป็นสีทองเสื้อทรงสีเหลือง นั่งหรือยืนบนดอกบัวและมือถือดอกบัว

สิ่งที่พระลักษมีทรงถืออยู่ที่เห็นกันบ่อยที่สุด คือ ดอกบัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ และมักจะถือไว้ 2 ดอก หรือไม่ก็ทรงถือ หม้อน้ำ พระหัตถ์หนึ่ง อีก พระหัตถ์หนึ่งหงายลงสู่พื้น มีเหรียญทองโปรยปรายลงจากใจกลางพระหัตถ์นั้น หรือไม่ก็เทออกมาจากในหม้อ เป็นสัญลักษณ์ของเทวีแห่งโชคลาภและความร่ำรวย บางครั้งก็จะทรงอาวุธบ้าง เช่น จักร อันบ่งความหมายถึงองค์นารายณ์ (พระวิษณุเทพ) นั่นเอง

พาหนะแห่งองค์พระแม่ลักษมีมี คือ ช้าง คนอินเดียถือว่า ช้าง เป็นสัญลักษณ์แห่งบุญญาธิการ พลังอำนาจ และความมั่งคั่ง ดังกำเนิดพระลักษมีที่มีช้างโปรยน้ำถวายนั่นเอง นอกจากช้างแล้ว ชาวอินเดียทั้งหลายก็นับถือ เบี้ยจั่น ว่าเป็นสัญลักษณ์ขององค์พระแม่ลักษมีมาแต่โบราณ ซึ่งจะเก่าแก่เท่าใดก็ไม่ทราบได้ แต่อย่างน้อยต้องเก่าถึงสมัยที่ยังใช้เบี้ยจั่นแทนเงินตรากันอยู่ เพราะว่าพระนางทรงเป็นเทวีแห่งโภคทรัพย์ ความร่ำรวย จึงย่อมทรงเกี่ยวข้องกับเงินตรา ซึ่งแทนด้วยเบี้ยจั่นนั้น

การที่พระแม่ลักษมีทรงเกี่ยวข้องกับความร่ำรวย ก็เพราะพระนางทรงเป็นเทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ และความอุดมสมบูรณ์นั้น ถ้าจะมองอีกแง่หนึ่ง ก็หมายถึง พืชพันธุ์ธัญญาหารที่เก็บเกี่ยวได้อย่างมากมาย อีกด้วย

มีตำนานเกี่ยวกับพระธัญญลักษมีที่เล่ากันว่า ครั้งหนึ่งเกิดทุกขภัยแห้งแล้งกันดารขึ้นในโลก เวลานั้นแสงอาทิตย์ร้อนแรงจนผู้คนออกจากบ้านไม่ได้ เมื่อถึงยามค่ำคืนบรรดาเกษตรกรจึงพากันบูชาพระวิษณุ หากแต่เวลานั้นพระวิษณุบรรทมหลับอยู่ ไม่ได้ยินเสียงวิงวอนของผู้คนในโลก

แต่พระลักษมีทรงได้ยิน และเนื่องจากไม่กล้าปลุกบรรทม พระแม่ลักษมีจึงแบ่งภาคมาเป็น พระแม่โพสพ เพื่อช่วยเหลือมนุษย์โลก โดยทรงนำมหาสังข์ใส้น้ำมาโปรยปรายเป็นฝน และเนรมิตข้าวในนาให้เจริญงอกงาม เป็นที่ปลาบปลื้มยินดีแก่ประชาชนผู้ตกทุกข์ได้ยาก จนเหลือที่จะพรรณนาได้


ทั้ง 8 ปางของพระแม่ลักษมี



1. อธิลักษมี (आदि लक्ष्मी) หรือมหาลักษมี (महा लक्ष्मी)
ปางนี้พระองค์จะมีสี่พระกรประทับอยู่บนบัลลังค์ดอกบัว โดยพระกรหนึ่งจะถือดอกบัว อีกพระกรหนึ่งจะถือธงสีขาว ส่วนพระกรที่เหลือจะอยู่ในมุทราแบบ ประพานพรครับ ปางนี้ถือได้ว่าเป็นปางที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และเป็นปางที่เก่าแก่ที่สุด ปางนี้เป็นปางที่ท่านอวตาน หรือ ลงมาจุติยังมนุษย์โลก โดยเป็นบุตรีแห่งพระฤาษีตนหนึ่ง เชื่อกันว่าในภาคปางนี้พระองค์จะประทานพรแห่งความสำเร็จทั้งทางด้านการเงิน การงาน และความรัก ครับ

2. ธัญญะลักษมี (धान्य लक्ष्मी )
ปางนี้พระองค์จะมีแปดพระกร และทรงภูษาสีเขียว โดยพระองค์จะถือดอกบัวสองดอก, คฑา. รวงข้าว, อ้อย, กล้วย ส่วนอีกสองพระหัตถ์จะอยู่ในมุทราประทานพรครับ ในภาคปางนี้ถือว่าพระองค์เป็นเทวีแห่งความเจริญ และ อุดสมบูรณ์ในด้านพืชพรรณธัญาหารครับ

3. คชาลักษมี (गज लक्ष्मी)
ปางนี้พระองค์จะมีสี่พระกร และทรงภูษาสีแดง ในพระหัตถ์ถือดอกบัวทั้งสองข้าง ส่วนอีกสองพระหัตถ์ จะอยู่ในมุทราประทานพร และด้านข้างจะมีข้างสองเชือกอยู่ทางด้านซ้ายและขวา ในงวงมีหม้อน้ำ ในภาคปางนี้ถือว่าพระองค์เป็นเทวีแห่งความเจริญ และ อุดมไปด้วยพาหนะและสรรพสัตว์

4. สันธนะลักษมี (सन्तान लक्ष्मी)
ปางนี้พระองค์จะมีหกพระกร โดยสองพระหัตถ์จะถือหม้อกลัศ อีกสองพระหัตถ์ถือโล่ และดาบ และมีเด็กชายถือดอกบัวนั่งอยู่บนตัก ที่เหลืออีกสองพระหัตถ์ๆ หนึ่งจะอยู่ในมุทราประทานพร ส่วนพระหัตถ์ที่เหลือจะทรงโอบเด็กชายไว้ ในภาคปางนี้ถือว่าพระองค์เป็นเทวีแห่งความเจริญและ อุดมไปด้วยลูกหลาน ครอบครัว ครับ

5. วิชยะลักษมี (विजय लक्ष्मी)
ปางนี้พระองค์จะมี แปดพระกร จะทรงภูษาสีแดง ในแต่ละพระหัตถ์ถือ สังข์, ดาบ, โล่, ดอกบัว, คฑา, และ บ่วงบาศก์ สองพระหัตถ์ที่เหลือจะอยู่ในมุทราประทานพร ในภาคปางนี้ถือว่าพระองค์เป็นเทวีผู้เปี่ยมไปด้วยชัยชนะ และความสำเร็จ

6. ไอศวรายะลักษมี (ऎश्वर्य लक्ष्मी)
ปางนี้พระองค์จะมีสี่พระกร ทรงพระภูษาสีขาว พระหัตถ์ทั้งสองถือดอกบัว อีกสองพระหัตถ์ที่เหลือจะอยู่ในมุทราประทานพร ในภาคปางนี้ถือว่าพระองค์เป็นเทวีผู้เปี่ยมไปด้วยความมั่งคั่งร่ำรวย

7. วีระลักษมี (वीर लक्ष्मी)
ปางนี้พระองค์จะมีแปดพระกร ทรงภูษาสีแดง ในพระหัตถ์ ทรงถือ จักร, สังข์, ชาม, ลูกศร, ตรีศูรย์ (บางครั้งจะเป็นดาบ) , ธนู อีกสองพระหัตถ์อยู่ในมุทราประทานพร ในภาคปางนี้ถือว่าพระเป็นเป็นเทวีผู้เปี่ยมไปด้วยความกล้าหาญ

8. ธนะลักษมี (धन लक्ष्मी)
ปางนี้พระองค์จะมีหกพระกรทรงพระภูษาสีแดง ในแต่ละพระหัตถ์ถือ จักร, สังข์, หม้อกลัศ, คันธนูและลูกศร, ดอกบัว มืออีกข้างอยู่ในลักษณะมุทราประทานพร และมีเหรียญทองตกลงมาจากพระหัตถ์ ในภาคปางนี้ถือว่าพระองค์เป็นเทวีแห่งความมั่งคั่งร่ำรวย เจริญไปด้วยทรัพย์สินเงินทอง
 

==========================================
==========================================

พระแม่คายตรีมนตรา
เทพีแห่งมนต์ตรา
เจ้าแม่เเห่งการแก้อาถรรพ์ ถอนคำสาป

 

คายตรีมนตรา หมายถึง คัมภีร์สามภพที่สามารถคลายมนต์แห่งคำสาปเป็นการอวตารของพระแม่สุรัสวดี

มีเรื่องเล่าในตำนานว่า ครั้งหนึ่ง ท่านพระพรหมได้จัดงานพิธีใหญ่ขึ้นมา เรียกว่าพิธียักนา ซึ่งพิธีนี้ก็เพื่อที่จะทำให้ท่านพระพรหมได้ครองสถานะภาพที่เรียกว่า
ท่านผู้เฒ่า หรือ"พ่อปู่แห่งจักรวาล" งานนี้ ก็มีเหล่าองค์เทพใหญ่ ๆ และ สำคัญ ๆ มากันหมด อันได้แก่ พระศิวะ พระนารายณ์ และ องค์มหาเทพทั้งหลาย ในงานนั้น พระแม่สุรัสวตีท่านแต่งตัีวนานมาก เพื่อให้สมพระเกียรติ พระพรหม และ ให้สมกับพิธี

ปรากกว่า ท่านพระพรหม กลัวว่า พระแม่จะเสด็จไม่ทัน แล้วจะเสียฤกษ์ เลยโปรดให้พระอินทร์ ไปหาใครก็ได้ มานั่งแทนที่พระแม่ก่อน ปรากฏว่าท่านพระอินทร์ ก็ไปเจอสาวเลี้ยงวัวคนหนึ่ง รูปร่างหน้าตาสวยงามมาก มีนามว่า กายาตรี นี่จึงเป็นต้นกำเนิดของพระองค์ พระอินทร์ท่านก็เลยพามานางกายาตรีแต่งองค์ทรงเครืองอย่างเร็ว แล้วพามานั่งเคียงข้างท่านพระพรหมได้ทันเวลา เพื่อทำการกล่าวคำปฏิญาณสำหรับพิธีแต่งงาน

นางกายาตรีต้องแต่งงานกับพระพรหมถึงแม้เป็นช่วงสั้นๆ ก็ตาม เพื่อที่พิธีบูชาไฟจะได้เริ่มขึ้นได้อย่างสมบูรณ์เพราะพระพรหมต้องมีภรรยาอยู่ในพิธีด้วย ถ้าไม่มีภรรยาร่วมงานด้วย งานก็จะเริ่มไม่ได้ และพิธีก็จะไม่ศักดิิสิทธิ

 

แล้วพิธีก็ได้เริ่มขึ้นหลังจากพระพรหมได้กล่าววาจาว่าได้แต่งงานกับนางกายาตรีแล้ว พอพิธีเริ่มไปได้สักพัก พระแม่ตัวจริง เสียงจริง พระนางสุรัสวตีก็เสด็จ ท่านก็โกรธมาก และต่อว่าพระพรหมไป พระพรหมจึงบอกว่า ก็กลัวจะเสียฤกษ์ ก็เลยบัญชาการให้พระอินทร์ไปหาตัวแทนมาก่อน พระนารายณ์ก็ช่วยกันอธิบายด้วยว่ากลัวจะเสียฤกษ์ พระศิวะก็บอกว่าจะโทษพระพรหมก็ไม่ถูกเพราะพระแม่สายเอง อีกอย่างตำแหน่งของดวงดาวสำคัญๆ มาอยู่ตำแหน่งที่ดีกันหมดจะรอไม่ได้
 

 

 

พระแม่สุรัสวตีพิโรธมากและบอกว่า ที่ท่านแต่งองค์ช้าก็เพื่อให้สมเกียรติและให้ถูกต้องกับงานพิธี มิใช่เพื่อความงามส่วนตัว พร้อมกับย้อนถามพระพรหมว่า “ ท่านพระพรหม ท่านบอกว่า ตอนนี้ดาวสำคัญทั้งหลาย อยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุด ใช่หรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้น คำพูดของข้า ก็จะยิ่งศักดิ์สิทธิ์ ข้าจะขอสาปเหล่าเทวะที่มีส่วนในการหาภรรยาใหม่ให้พระพรหมในวันนี้ ทุกพระองค์ต้องรับผิดชอบทั้งหมดว่าแล้วพระแม่ก็สาปโดยไล่เรียงทีละพระองค์ดังนี้


เริ่มจาก พระพรหม พระแม่สุรัสวตีได้สาปว่า “ข้าขอให้ไม่มีผู้ใดจะประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อบูชาท่านต่อแต่นี้ไป จะไม่มีวัดไหนทำพิธีบูชาท่าน ในหนึ่งปีจะมีเพียงแค่วันเดียวที่จะมีคนทำพิธีศาสนาให้ท่าน ท่านจะไม่มีวัดเป็นของตนเอง และคำสาปของข้าจะมีผลนับแต่วันนี้"

ต่อมาก็ถึงคราวท่านพระอินทร์ ว่าเป็นต้นคิดไปหาตัวแทน จึงโดนพระแม่สาปไป ว่าต่อแต่นี้ไป เจ้าจะรบแพ้อสูร เจ้าจะอ่อนแอลงทุกวัน จนต้องพึ่ง พลังจาก รากไม้ หรือ สมุนไพรเพื่อเพิ่มพลัง จากเดิมที่เจ้ารบไม่เคยแพ้ใคร ต่อแต่นี้ขอให้ไปรบแพ้อสูรที่จะมีฤทธิ์เดชมากตนหนึ่ง ให้เสียศักดิ์ศรีหัวหน้าแห่งสวรรค์เสียเลยและต้องถูกขับไล่จากสวรรค์เสียด้วย แล้วก็ต้องไปอ้อนวอนขอร้องอิสตรีให้มาช่วยในการสู้รบ ซึ่งต่อมาพระอินทร์ก็รบแพ้อสูรมหิสูรย์จริง ๆ แถมโดนไล่ให้ออกไปจากสววรค์อีกด้วย จนพระแม่ดุริกาต้องมาช่วยรบ

ส่วนพระศิวะ นั้น ถือเป็นเทพใหญ่ แต่มิได้ห้ามปรามพระพรหม เพราะท่านไม่เคยมีชายาหรือมเหสีมาก่อน เรียกว่าไม่รู้จักความรักใช่ไหม ก็ถูกสาปให้ ต้องรู้รสความเจ็บปวดจากการพลัดพรากจากคนรักที่พระองค์จะรักนางมาก (ตามที่พระนางสตีที่ได้สละชีวิตของพระนางเพื่อปกปัองศักดิ์ศรีแห่งพระศิวะเทพผู้สวามีที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นในตอนกำเนิดพระแม่อุมาเทวี) 

 

พระนารายณ์ ก็โดนสาปไปเหมือนกัน พระแม่สุรัสวตีทำการสาปไปว่า ขอให้ท่านพระนารายณ์ได้รู้จักกับความลำบากในชีวต และต้องอวตารมาคอยช่วยเหลือมนุษย์มากกว่าหนึ่งครั้ง อีกทั้งยังต้องไประเหเร่ร่อนในป่า และพบกับความต่ำต้อยในโลกมนุษย์ และท่านจะต้องพรากจากคนรักอีกด้วย เพราะคนรักของพระองค์ถึงจะรักมั่นต่อพระนารายณ์แค่ไหน ก็ไม่สามารถอวตารตามมาได้ทุกปางโดยเฉพาะปางที่เกิดมาเป็นมนุษย์ซึ่งก็คือปางที่เป็นพระพุทธเจ้า พระแม่ลักษมีก็ตามลงมาครองคู่ไม่ได้ เพราะท่านเป็นพระและถือศีลพร้อมประพฤติพรหมจรรย์ พระแม่ได้สาปให้พระนารยณ์ต้องมาเกิดเป็นพระราม ที่ต้องถูกขับออกจากเมืองและบัลลังก์ในชาติที่เกิดเป็นพระรามเดินดงพร้อมพระลักษณ์

ส่วนพระกฤษณะ ก็คือท่านต้องเป็นคนเลี้ยงแกะ เลี่ยงแพะ ใช้ชีวิต อยู่ตามทุ่งนา


ส่วนพระนางกายาตรีไม่ถูกสาป เพราะพระแม่สุรัสวดีถือว่าพระนางบริสุทธิ์ ซึ่งถูกพระอินทร์พามา นอกจากนางจะไม่ถูกสาปแล้ว พระแม่ท่านยังประทานพรให้แก่นางได้ไปเกิดเป็นเทพด้วย ก็เพราะนางไม่รู้อะไรเห็นอะไรด้วย ถูกลากจูงมาอย่างเดียว พระแม่ก็ประทานพรให้อีกว่า
ต่อแต่นี้มนุษย์ทุกผู้ที่อยากบรรลุนิพพานก็จะต้องพากันสวดกายาตรีมันตรา พระแม่สุรัสวตีจะถูกบูชาโดยนักบวช ในขณะที่พระแม่กายาตรี จะถูกบูชาโดยสามัญชน คนพื้นบ้านทั่วไป พระเวทย์อันศักดิ์สิทธิ์แห่งพระแม่สุรัสวตี ก็จะถูกถ่ายทอดให้พระแม่กายาตรี เพื่อให้มาสอนมนุษย์โลกในภายหลัง

พระนางคายตรี ที่มี 5 พระพักตร์นั่นคือองค์อวตารของพระนางสรัสวตี เพราะว่า การที่พระนางมี 5 พระพักตร์นั้นก็เพื่ออวตารเป็นคู่บุญคู่บารมีองค์ของพระพรหมผู้เป็นสวามี เพราะสมัยก่อนจะมีเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้นพระพรหมมี 5 พระพักตร์ แต่ด้วยพระพักตร์ที่ 5 นี้เอง ที่มีความพิเศษคือจะเป็นพระพักตร์ที่จดจำคัมภีร์พระเวททั้ง 4 ไว้หมด จึงมีรัศมีเรืองรอง เหล่าเทพไม่สามารถทนต่อความร้อนแรงของรัศมีได้ จึงทูลพระศิวะให้ทรงช่วยเหลือ พระศิวะจึงตัดเอาเศียรของพระพรหมพระพักตร์ที่ 5ออก(บางตำราว่าถูกไฟจากตาที่สามทำลาย) 

 
 

==========================================
==========================================


พระพรหม


ตำนานกำเนิดพระพรหม
จากคัมภีร์และตำนานมากมายที่กล่าวถึงการกำเนิดของพระพรหม กล่าวไว้ อาทิ คัมภีร์วารหปุราณะ และมหากาพย์มหาภารตะ กล่าวไว้ว่า พระพรหมเกิดจากดอกบัวที่พุดขึ้นจากสะดือของพระวิษณุ ที่บรรทมหลับอยู่บนหลังพระยาอนันตนาคราชที่เกษียรสมุทร 

 

กำเนิดพระพรหมคัมภีร์มานวธรรมศาสตร์กล่าวไว้ว่าครั้นเมื่อโลกยังไม่ปรากฏสิ่งใดๆ(มีความว่างเปล่า) พระอาตมภูหรือพระพรหม (ผู้เกิดเอง) ประสงค์จะสร้างทุกสิ่งทุกอย่างบนโลก จากนั้นจึงสร้างน้ำขึ้นมาก่อนแล้วจึงนำพืชโปรยลงบนพืนน้ำ พอเวลาผ่านไปพืชนั้นกลายเป็นไข่ทองคำและกำเนิดขึ้นมาเองเป็นพระพรหม มีพระนามว่า"หิรัณยครรภ์ หลังจากนั้นพระพรหมจึงแบ่งร่างกายเป็นชาย-หญิงเพื่อสร้างโลกและมนุษย์ต่อม

อีกตำนานหนึ่งในคัมภีร์มนัสนปุรณะเล่าว่าพระพรหมหรือที่เรียกว่า"อาปวะ หลังกำเนิดขึ้นแล้วพระองค์แบ่งเป็น 2 ภาคซึ่งภาคหนึ่งเป็นชายคนแรกของโลกส่วนอีกภาคหนึ่งแบ่งเป็นหญิงคนแรกของโลกมีนามว่า"ศตรูปา"หรือสรัสวดี ต่อมาช่วยกันสร้างโลก มีเทวดา มนุษย์ อสูร และสรรพสัตว์สรรพพืชพันธุ์ในโลก

เหตุที่ทำให้พระพรหมมีถึง 5 เศียร เรื่องมีอยู่ว่าพระองค์ทรงหลงรักและหวงแหนพระมเหสี (พระสุรัสวดีพระมเหสีของพระองค์มีหลายพระนาม อาทิ สรัสวดี ศตรูปา สาวิตรี คายตรี พราหมณี) เพื่อคุ้มครองพระมเหสีองค์นี้ด้วยว่าไม่ว่าจะเสด็จที่ใดก็ตาม พระองค์จะทรงใช้ตาที่เศียรทั้ง 5 เศียรของ พระองค์เฝ้าติดตามไม่ว่าจะเกิดเหตุใดขึ้นก็ตามจะได้ช่วยทันทุกเวลา เวลาต่อมาเศียร 1 ใน 5 เศียรได้ถูกพระศิวะเผา เพราะว่าเศียรที่ 5 นั้นได้มีอิทธิฤทธิ์ อนุภาพร้อนแรงมากจึงทำให้สวรรค์ร้อน เทวต่างอยู่ไม่ไหวด้วยแรงแห่งความร้อน จากนั้นเหล่าเทวดาได้ปรึกษาประชุมกันว่าจะทำอย่างไร จึงได้มีกลอุบายไปร้องขอความช่วยเหลือจากพระศิวะ เพราะท่านมีดวงตาที่ 3 เป็นดวงตาแห่งบัลลัยกัล สามารถเผาผลาญทุกอย่าง จากนั้นพระศิวะจึงได้ใช้ดวงตาที่ 3 เพื่อเผาเศียรพระพรหม ต่อจากนั้นทุกอย่างก็ดีขึ้น

ในอินเดียสมัยโบราณ พระพรหมเป็นเทพ (ผู้สร้างโลก) ได้รับการยกย่องโดยพวกพราหมณ์เชื่อว่า"พระพรหมเป็นฤาษีองค์แรกของศาสนาพราหมณ์และเป็นมหาเทพที่มีบุญบารมีสูงส่งกว่าเทพและเทวดาทั่วไป และวิวัฒนาการทางความเชื่อทางศาสนา และศิลปกรรมของอินเดียมีการเปลี่ยนแปลงตามแคว้นต่างๆ เสมอรวมถึงการเปลี่ยนแปลงตามประเพณีความเชื่อในช่วงสมัยนั้นๆ โดยมีการนับถือตามนิกายต่างๆ ของความเชื่อที่มีอยู่นั้น เช่น นิกายไศวะ หรือไศวะนิกาย และไวษณพนิกาย หรือไวษณวนิกาย ทั้ง 2 นิกายให้ความเคารพนับถือเทพ คือพระศิวะ และ พระวิษณุเป็นพิเศษ จึงลดความศรัทธาความเชื่อถือพระพรหมลง และเมื่อเวลาผ่านถึง ค.ศ. ที่ ๑๐ ชาวฮินดูจึงหันมาให้ความเคารพ นับถือพระพรหมจากที่นิกายไศวะ และไวษณพนิกาย ซึ่งมีการแข่งขันกันทางด้านความเชื่ออยู่ พระพรหมจึงกลายเป็นเทพองค์สำคัญขึ้นมาใหม่ โดยมีการสร้างเทวาลัย และรูปปั้นไว้เป็นจำนวนมาก พระพรหมได้รับการนับถือบูชาในฐานะที่พระองค์เป็นผู้สร้างของทุกสิ่งทุกอย่างให้เกิดขึ้นบนโลก พระองค์ทรงเป็นผู้ให้ที่สำคัญ และเป็นผู้กำหนดโชคชะตาของมนุษย์ พระนามที่เรียกขานกันมีมากมายนอกเหนือจากพระพรหม หรือ พระพรหมธาดา เป็นต้นว่า ราชคุณ หมายถึง ความมี กิเลสและความปรารถนา และมูลเหตุของการสร้างโลกทั้งปวง สวายัมภู หมายถึง ผู้เกิดเอง กมลสาส์น และปัทมสาส์น หมายถึง ผู้นั่งบนดอกบัว ซึ่งเกิดมาจากสะดือของพระวิษณุ คัมภีร์ฤคเวท ปรากฏพระนาม ปชาบดี คัมภีร์รามายณะ ปรากฏพระนามอื่นๆ คือ ปรเมศวร วิธิ-เวธาส อทิกวี สนัต ชาตริวิชาตริ ปิตามหะ ทรุหิณ-สราษฎริ โลเกศ ลักษณะทางศิลป์ รูปเคารพของพระพรหมที่พบในปัจจุบันมีรูปเคารพ 4 ปาง 5 พระนาม ซึ่งมีลักษณะทางศิลป ดังนี้ ปางประชาบดี พระพรหม พระวรกายสีขาว สวมอาภรณ์หนังกวางสีดำพาดบ่า มี 4 พักตร์ 4 กร ถือช้อน แจกัน และการทำปางประทานพร ด้านขวาของพระพรหม มีรูปเทพธิดาสรัสวดี ด้านซ้ายของพระพรหม มีรูปเทพธิดาสาวิตรียืนประทับอยู่ พาหนะคือ หงส์ ปางโลกบาล พระพรหมมี 4 พักตร์ 4 กร ถือลูกประคำ หนังสือ ดอกบัว และแจกัน ด้านข้างมีนางสาวิตรี (4 พักตร์) ประทับยืนด้วย ปางวิศวกรรม พระพรหมมี ๔ พักตร์ ๔ กร ถือ ช้อน หนังสือ แจกัน และลูกประคำ ปางกามลักษณะ ปางปิตมหา
พระพรหมมี 4 พักตร์ พระเกศามุ่นขมวด มี 4 กร ถือ หนังสือ แจกัน หม้อ และช้อน



 

==========================================

==========================================
 

พระยม (พญายมราช)



 

ท้าวพญายมราช หรือ พระยม ในเทวตำนานยุคต้น ท้าวจตุโลกบาลแห่งทิศทักษิณ กล่าวไว้คือพระยม เป็นองค์เดียวกัน มีลักษณะใบหน้าดุดัน พระวรกายสีแดงทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ พระหัตถ์ขวาถือบ่วงยมบาศก์ (บ่วงบาศก์ที่ใช้จับมัดวิญญาณทั้งหลาย) พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้ท้าวยมทัณฑ์ ทรงกระบือเป็นพาหนะ มีอิทธิฤิทธิ์มากทำหน้าที่พิพากษาและปกครองดวงวิญญาณทั้งหลายในนรกภูมิ มีบริวารคือ ยมฑูต หรือ นายนิรยบาล มีหน้าที่นำวิญญาณทั้งหลายไปยังสำนักพญายม และลงโทษแก่ดวงวิญญาณในนรก ซึ่งบริวารท้าวพญายมราชที่คนไทยรู้จักดีมีด้วยกัน ๒ องค์ ได้แก่ พระกาฬไชยศรี และ เจ้าพ่อเจตตคุปต์ ซึ่งมีรูปเคารพอยู่ที่ศาลหลักเมือง ทำหน้าที่จดชื่อและจับวิญญาณชั่วร้ายที่จะมารบกวนบ้านเมือง ท้าว พญายมราช เป็นเทวดาที่มีการกล่าวถึงในตำนานของทุกชาติพันธุ์ภาษา ของทุกวัฒนธรรมทั่วโลก ต่างกันเพียงการเรียกนามที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละภาษาเท่านั้น ส่วนหน้าที่และอำนาจนั้นมีความคล้ายคลึงกัน ตำนานลัทธิข้างจีนฝ่าย มหาญาน กล่าวว่า พญายมเป็นพระโพธิสัตว์พระองค์หนึ่ง

ตำนานท้าวพญายมราช มีการกล่าวถึงกำเนิดไว้หลากหลาย อาจเป็นเพราะพญายมเป็นตำแหน่งเทวราชผู้ปกครองยมโลก มีการหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามมติของเทวสภา หรือบารมีที่สั่งสมมาอย่างเหมาะสมทำให้ไปเกิดเป็นท้าวพญายมราช จากเทตำนานในยุคต้นที่กล่าวว่าท้าวจตุโลกบาลทิศทักษิณ คือ พระยม  ด้วยในยุคต้นที่ยังไม่มีวิญญาณใดที่เหมาะสม ท้าวจตุโลกบาลทิศทักษิณ คือ ท้าววิรุฬหก ทรงเป็นเทวกำเนิดจึงต้องรับภาระในตำแหน่งพญายม หรือ พระยม ซึ่งก็มีตำนานได้กล่าวไว้ว่า บริวารของพญายมคือ ยมฑูต ก็ คือกุมภัณฑ์ พวกหนึ่งนั่นเอง แต่เมื่อมีมนุษย์มากขึ้นสั่งสมบารมีหรือมีความเหมาะสมย่อมได้รับการสถาปนา ให้ดำรงตำแหน่ง

ท้าวพญายมราช องค์ปัจจุบันในอดีตชาติก่อนที่ท่านจะได้รับสถาปนาเป็นท้าวพญายมราชนั้น ท่านเป็นมนุษย์ในครั้งก่อนพุทธกาล ในยุคที่ยังมนุษย์อยู่กันเป็นชุมชนยังไม่ใหญ่นัก ซึ่งท่านเป็นหัวหน้าชุมชนในหมู่บ้านเป็นผู้มีวิชาความรู้ เมื่อเกิดเหตุความไม่สงบขึ้นในชุมชนหมู่บ้านท่านเป็นผู้นำปราบปรามแก้ไข และต้องตัดสินพิพากษา

ครั้งหนึ่งเกิดเหตุการณ์ฆ่ากันตายในหมู่บ้านที่ท่านดูแลอยู่ แต่ไม่มีผู้ใดยอมรับว่าเป็นผู้กระทำด้วยเกรงกลัวความผิด เพราะโทษนั้นหนักถึงกับต้องประหารให้ตายตกตามกันคือชีวิตต้องชดใช้ด้วยชีวิต ท่านในฐานะผู้ปกครองดูแลเมื่อสอบสวนแล้วไม่มีผู้ยอมรับผิด จึงได้ใช้วิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาเสกแป้งฝุ่นแล้วซัดออกไปก็จะปรากฎรอยเท้า ผู้กระทำผิด เมื่อตามรอยเท้านั้นไปปรากฎว่าผู้เป็นเจ้าของรอยเท้านั้นคือพ่อบังเกิดเกล้า ของท่านเอง ท่านมีความเสียใจเป็นอย่างมากไม่รู้จะทำอย่างไร ท่านพิจารณาด้วยใจอันเป็นธรรมอย่างที่สุดจึงได้ตัดสินให้ประหารพ่อ ของท่านเอง แล้วก็ออกจากหมู่บ้านเร่ร่อนไปจนท่านเสียชีวิตเพียงลำพัง เป็นการแสดงให้เห็นว่าท่านมีความเที่ยงธรรมอย่างหาที่เปรียบมิได้ เพราะหากท่านไม่บอกแก่ใครย่อมไม่มีผู้ใดล่วงรู้ได้ อีกทั้งท่านก็ยังได้ดำรงอยู่ในตำแหน่งหัวหน้าหมู่บ้านมีความสุขสบายไม่ต้อง ลำบากเร่ร่อนไปอย่างเดียวดาย เมื่อท่านได้เสียชีวิตดวงวิญญาณของท่านเป็นยกย่องในความเที่ยงธรรม เทวดาทั้งหลายจึงแสดงฉันทามติสถาปนาท่านให้ดำรงตำแหน่งท้าวพญายมราช


องค์พญายมราชจะมีผู้ช่วยสำคัญในการไปนำดวงวิญญาณ ของสัตว์โลกมาสู่แดนปรโลก หรือแดนยมโลกคือ องค์เจ้าพ่อพระกาฬชัยศรี เจ้าพ่อพระกาฬชัยศรีนี้มีรูปปั้นอยู่ที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง กรุงเทพมหานคร มีเทวะลักษณะเป็นเทพยดาที่สี่กร กรหนึ่งถือดวงไฟหมายถึงดวงวิญญาณ กรหนึ่งถือบ่วงบาศเป็นสัญลักษณ์สำคัญในการใช้จับดวงวิญญาณทั้งปวง ขี่นกเค้าแมวเป็นพาหนะ พระองค์เป็นบริวารของพญายมราชทำหน้าที่เก็บดวงวิญญาณต่างๆ บ้านไหนที่จะมีคนตาย พระองค์จะทรงใช้นกแสกบ้าง นกเค้าแมวบ้าง ไปเกาะลังคาบ้านร้องเตือนให้ทราบล่วงหน้า หรือบันดาลนิมิตดีร้ายให้ทราบ หากผู้นั้นมีปัญญาจะได้รีบขวนขวายทำบุญก่อนจะหมด โอกาสในโลก นอกจากนี้พระองค์ยังมีบริวารเรียกว่าเหล่ายมฑูต ทำหน้าที่ไปเก็บดวงวิญญาณต่างๆให้พระองค์อีกทีหนึ่งด้วย ซึ่งเราชาวโลกจะเรียกท่านว่า พญามัจจุราชนั่นเองนอกจากนี้องค์พญายมราชยังมีบริวารที่ทำหน้าที่บันทึกการ กระทำความดีความชั่ว เรียกว่าสุวัณ และสุวาณ สุวัณนั้นทำหน้าที่จดการกระทำความดีของผู้ที่กระทำความดีตั้งอยู่ในศีลใน ธรรม การจดนั้นท่านใส่สมุดทองคำ ยามรายงานองค์พญายมราชเสร็จเรียบร้อยจะทำการยกขึ้นจบเหนือหัวเป็นการ อนุโมทนา ส่วนสุวาณทำหน้าที่จดการกระทำของคนชั่วประพฤติบาป ไม่ตั้งอยู่ในศีลในธรรม การจดก็จดใส่สมุดหนังหมา เป็นการคาดโทษเอาไว้

ในพระไตรปิฏกกล่าวว่าองค์พญายมราชนั้นเมื่อได้ฟังเทศน์จากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีดวงตาเห็นธรรมบรรลุเป็นพระโสดาบันนั่นเป็นเบื้องต้น ครูบาอาจารย์ที่ถอดจิตได้อย่างหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านกล่าวว่าองค์พญายมราชนั้นปัจจุบันท่านมีภูมิธรรมชั้นพระอนาคามี เป็นภูมิพรหม ดำรงตำแหน่งการพิพากษาตัดสินดวงวิญญาณในแดนยมโลกอย่างยุติธรรม ประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา คือดวงวิญญาณแต่ละดวงที่ตกมายังยมโลกนั้น

พระองค์จะไต่ถามด้วยความเมตตาว่าระลึกถึงบุญอันใดได้บ้าง หากดวงวิญญาณนั้นๆระลึกได้แม้สักอย่างท่านจะอนุโมทนาและให้ไปรับส่วนบุญ นั้นๆ หากดวงวิญญาณไม่อาจระลึกถึงคุณงามความดีใดๆได้เลยท่านก็ทรงจิตไว้เป็น อุเบกขา ว่าเป็นกรรมของสัตว์โลก ท่านก็จัดส่งไปลงโทษตามควรแก่ฐานานุโทษของสัตว์นั้นๆ

ในด้านของไสยศาสตร์นั้น พระยายมราช นับเป็นเทวะราชาพระองค์หนึ่งที่มีเทพอาวุธอันทรงอานุภาพเปรียบได้กับอาวุธ ปรมาณู ซึ่งมีอานุภาพทำลายล้างสูงสุดเป็นที่เกรงกลัวของทั้งสามภพ ในตำราทางไสยศาสตร์นั้นเทพอาวุธอันทรงอานุภาพมีด้วยกัน ๕ อย่าง เป็นของเทพ ๕ พระองค์ มีดังนี้: วัชระ ของพระอินทร์ ๒ ผ้าโพกหัวของอาฬาวะกะยักษ์ ๓ นัยตาของพญาอาวุธทั้ง ๕ นี้ถือเป็นของที่มีอานุภาพสามารถทำลายล้างสารพัดสรรพสิ่งได้เป็นจุณมหาจุณ เป็นที่เกรงกลัวของภูติผีปีศาจอย่างยิ่ง ครูบอาจารย์ได้นำเอาเรื่องราวของอาวุธทั้ง ๕ มาประพันธ์เป็นพระคาถาในการป้องกันและปราบปรามภูติผีปีศาจได้อย่างชะงัด

ด้านการอานิสงค์ของการบูชานับถือพญายมราชนั้น เชื่อกันว่าภูติผีปีศาจไม่กล้าระราน ผู้นั้นจะมีตบะบารมีที่น่าเกรงขาม ใครคิดร้ายด้วยทุจริตมิชอบอิจฉาตาร้อน จะแพ้ภัยด้วยตัวเขาเอง นอกจากนี้หากหมั่นบูชาพระองค์ท่านเสมอๆท่านว่าจะห่างไกลจากความป่วยไข้มี อายุยืนนาน หากรับราชการหรือทำมาค้าขายด้วยความซื่อตรงก็จะบังเกิดความเจริญมีความสุขใน ชีวิตยิ่งๆขึ้นไป


ขอบคุณที่มา http://www.pootor.net/p001

 

 ==========================================

==========================================

พระขันธกุมาร (มหาเทพนักรบแห่งสวรรค์)




พระขันทกุมาร มหาเทพองค์นี้มีชื่อใกล้มาทางฝ่ายไทย และมีส่วนเกี่ยวข้องกับพระพิฆเนศ ในอินเดียเรียกพระขันทกุมารนี้ว่า สกันทะ (ผู้โลดเต้น ผู้ทำลาย) , กรรตติเกยะ (บางแห่งเขียนว่า การัตติเกยะ) อินเดียตอนใต้เรียก สุพราหมัณเย ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือมาก ตามหมู่บ้านทั้งหลายในอินเดีย จึงนิยมตั้งศาลสักการะบูชาพระขันธกุมารกันแทบทุกหมู่บ้าน

พระขันธกุมาร (ขันทกุมาร) เป็นโอรสของ พระศิวะเทพ กับ พระนางปราวตี (พระแม่อุมา) เกิดจากน้ำเชื้อของพระศิวะมหาเทพ ที่ร่วงหล่มลงพื้นธรณี จนยากที่จะพิสูจน์ว่าพระพิฆเนศกับพระขันธกุมารใครเป็นพี่เป็นน้อง

ในวรรณคดีโบราณ เช่น โองการแช่งน้ำ แม้จะมิได้ขานพระนามของพระขันธกุมารโดยตรง แต่ก็มีคำที่ว่า "ขุนกล้าขี่นกยูง" ปรากฎความอยู่ "ขุนกล้า" ในโองการแช่งน้ำนั้นหมายถึง พระขันธกุมารนั่นเอง ด้วยมีสัตว์พาหนะเป็นนกยูงที่ชื่อ ปรวาณี (ก่อนนั้นเป็นปัทมาอสูร)


พระขันทกุมาร ปรากฎทิพยรูปในลักษณะของเด็กหนุ่มรูปงาม พระพักต์ผ่องใส สดชื่น แสดงถึงพลังแห่งชายหนุ่มผู้ไม่หวาดหวั่นกับสิ่งใด ฉลองพระองค์ในชุดขุนศึกสมัยโบราณ ภาพวาดบางภาพมีเสื้อเกราะ หอกศักติ (หอกรูปดอกบัวตูม เป็นหอกแห่งขุนศึก) ประคำหลากสี พระขันธกุมารมีสัตว์พาหนะคือ นกยูง

พระขันธ์กุมาร เทพเจ้าแห่งนักรบ บุตรแห่งพระศิวะและพระแม่อุมามหาเทวี

เทวกำเนิดของ พระขันทกุมาร นั้น มีไม่มากเหมือนเทพเจ้าองค์อื่นๆ กล่าวกันว่า พระขันทกุมารนี้เป็นหนุ่มรูปงาม มี 6 พักตร์ (บางแห่งวาดเป็นพระพักตร์เดียว) และมี 12 กร ผิวพรรณนั้นงดงามดั่งจันทร์คืนเพ็ญ แต่สง่างามดุจพระสุริยะเทพ

การกำเนิดของพระขันทกุมารนั้นก็เพื่อปราบอสูรที่ชื่อ ตาระกาสูร เป็นกษัตริย์แห่งแคว้นตรีปุระ อสูรตนนี้มีตบะแรงกล้ามาก สามารถบำเพ็ญฌานบารมีจนร้อนไปถึงพรหมโลก ทำให้จักรวาลสั่นสะเทือนโกลาหลไปหมด กษัตริย์อสูรตนนี้ไม่เกรงพระบารมีของมหาเทพผู้สร้าง (พระพรหม) คิดว่าตนเองก็เป็นหนึ่งเหมือนกัน การบำเพ็ญฌานบารมีนั้นทำให้ พระพรหม ทนความร้อนไม่ไหว ต้องเสด็จมาประทานพรตามที่อสูรปรารถนา เหตุที่บอกว่าอสูรตาระกามีตบะแรงกล้านั้น เพราะได้ทำสมาธิอย่างเข้มงวดเป็นเวลายาวนานกว่า 100 ปีสวรรค์ ทำให้พรที่อสูรตนนี้ขอไว้กับพระพรหมคือขอให้มีชีวิตเป็นอมตะ แข็งแกร่งไม่มีผู้ใดในตรีภพเทียบได้ และไม่มีใครสามารถสังหารเขาได้นอกเสียจากโอรสของพระศิวะเทพ ที่ขอพรไปเช่นนั้นเพราะล่วงรู้ว่าขณะนั้นพระศิวะกับพระแม่อุมาเทวียังไม่มีโอรสด้วยกันเลย

เมื่อตาระกาสูรได้รับพรจากพระพรหมแล้ว ก็เริ่มออกอาละวาดในจักรวาลทันที!! เริ่มต้นด้วยการยึดเอาวิมานและกวาดเอาทรัพย์สินของพระอินทร์ไปจนหมด บังคับให้พระฤาษีมอบ โคกามเกนุ ซึ่งเป็นโคที่มีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถบันดาลให้เจ้าของได้ทุกสิ่งทุกอย่าง นอกจากนี้ยังเปลี่ยนกฎเกณฑ์ธรรมชาติจนวุ่นวายไปหมด เช่น บังคับให้พระอาทิตย์ดับแสงและไร้ซึ่งความร้อน บังคับให้พระจันทร์ลอยค้างอยู่บนท้องฟ้าตลอดเวลา บังคับลมให้พัดโหม หรือเปลี่ยนทิศทางได้ตามคำสั่งของอสูรตาระกา ยังผลให้โลกเดือดร้อนวุ่นวายมาก

ฝ่ายเทวดาทั้งหลายอันมี พระวิษณุเทพ เป็นใหญ่นั้น ได้เสด็จไปยังพระทวารที่ประทับชั้นในของพระศิวะเทพ และร่วมกันเปล่งคำสรรเสริญในพระบารมีแห่งมหาเทวะ คราวนั้นถึงกับทำให้พระศิวะต้องทรงผละพระวรกายปรากฎกายต่อเบื้องหน้าเทพทั้งหลาย พระองค์ทรงเห็นใบหน้าที่เศร้าหมองระทมทุกข์ของเทวดาจึงได้ถามว่าเพราะเหตุอันใด

ฝ่ายวิษณุเทพเล่าเรื่องราวของอสูรตาระกาว่าได้พรจากพระพรหมให้มีชีวิตอมตะไม่มีใครสังหารได้นอกจากโอรสของพระศิวะเท่านั้น ฝ่ายเทพทั้งหลายจึงรอการประสูติของโอรสแห่งพระศิวะอยู่นานนับพันปี จึงได้มาเข้าเฝ้าเพื่อขอพึ่งบารมี

ครานั้น พระศิวะมหาเทพ ได้ทรงแบ่งน้ำเชื้อที่มีความร้อน เหมือนไฟแห่งการทำลายล้างออกมาหยดหนึ่งร่วงลงสู่พื้นดิน ด้วยความรีบร้อน พระอัคนี ได้รีบแปลงกายเป็นนกเขา กลืนเอาน้ำเชื้อนั้นเข้าไป ความร้อนแรงแห่งน้ำเชื้อนั้นทำให้พระอัคนีร้อนรนจนทนไม่ได้ พระศิวะแนะนำให้เอาน้ำเชื้อนั้นไปใส่ในครรภ์ของผู้หญิงแทน และต้องใส่ในครรภ์ของหญิงซึ่งได้อาบน้ำในวันแรกของเช้าตรู่เดือนมาฆะ

ในวันนั้น บรรดาภริยาของฤาษีทั้ง 7 ตนได้มาอาบน้ำ ปรากฎว่า ภริยาทั้ง 6 คน (เหลือเพียงคนเดียว) ที่ลงอาบน้ำนั้นถูกน้ำเชื้อที่นกเขาคายไว้ ซึมแทรกเข้าไปตามรูขุมขน นางทั้งหกจึงร้อนรนทุกข์ทรมานมาก นางทั้งหกได้ถูกเหล่าฤาษีขับไล่ออกจากอาศรม จึงได้ตัดสินใจทำลายน้ำเชื้อที่เป็นตัวอ่อนทิ้ง ด้วยพลังแห่งโยคะที่เทือกเขาหิมาลัย เพื่อจะได้หลุดพ้นจากความทรมาน ด้วยการเหวี่ยงตัวอ่อนลงไปที่แม่น้ำคงคา เช่นเดียวกับ พระแม่คงคา ที่ได้เหวี่ยงเอาตัวอ่อนนี้ขึ้นไปที่พงหญ้า เสมือนการชุบตัวจากแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ ได้ปรากฎทารกน้อยขึ้นตนหนึ่งที่พงหญ้านั้น

พระพรหมทรงรู้ด้วยญาณว่า โอรสแห่งพระศิวะเทพได้ถือกำเนิดแล้ว จึงบัญชาให้พระฤาษีวิศวามิตรไปประกอบพิธีให้กับโอรสน้อยแห่งศิวะเทพ ทารกนี้พูดได้ตั้งแต่ยังแบเบาะว่า "ด้วยประสงค์ของพระศิวะเทพที่ส่งท่านมายังที่นี้ ขอให้ท่านฤาษีจงประกอบพิธีทางศาสนาเพื่อชำระร่างกายของข้า ให้บริสุทธิ์ตามกฎแห่งพระเวทที่วางไว้เถิด"

ข้างฝ่ายพระอัคนีที่เคยอุ้มน้ำเชื้อไว้ เมื่อสมัยจำแลงกายเป็นนกเขานั้น ได้เดินทางมายังที่แห่งนี้ด้วย และมอบคฑาศักดิ์สิทธิ์ถวายให้กับพระองค์ ทันทีที่ได้รับอาวุธ พระขันทกุมารก็เหาะขึ้นไปบนยอดเขาแห่งหนึ่ง เพื่อพิสูจน์พลังอำนาจแห่งตน ด้วยการใช้คฑานั้นฟาด จนภูเขาถล่มทลายลงในพริบตา ทันทีที่ยอดเขานั้นแยกออก ได้ปรากฎปิศาจ 10 โกฏิตนออกมาก แต่ก็ถูกพระองค์สังหารจนสิ้น

ต่อมา นางกฤตติกา (กลุ่มดาวทั้ง 6 ดวง) ได้ลงมาอาบน้ำ เห็นกุมารน้อยนอนอยู่ที่กอหญ้า ก็บังเกิดความรักใคร่ นำเอากุมารไปเลี้ยงดูในดินแดนของนางทั้งหก และเพื่อไม่ให้เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจในหมู่แม่นมทั้งหลาย พระกุมารจึงได้แยกร่างออกเป็น 6 พระองค์ (บางตำนานบอกว่ามี 6 พระพักตร์ในร่างเดียว) ด้วยเหตุที่เป็นลูกที่รักยิ่งของนางการัตตี พระองค์จึงได้ชื่อว่้า พระการัตตีเกยะ (Kaitikeya)

ขณะเดียวกันนั้น ได้เกิดเหตุประหลาดกับพระนางปารวตี (พระแม่อุมาเทวี) คือมีน้ำนมไหลออกจากเต้านมทั้งสองข้าง นางจึงได้ถามเรื่องน้ำเชื้อที่หล่นบนผืนดินกับพระศิวะ เพราะนางเข้าใจว่า เหตุที่น้ำนมของนางซึ่งไหลอยู่นี้ ชะรอยว่าโอรสจะถือกำเนิดแล้ว แต่อยู่ที่ผู้ใดหรือแห่งหนใดกันเล่า พระศิวะจึงมีโองการให้ผู้ครอบครองกุมารรีบเอามาคืนด่วน มิฉะนั้นจะรับโทษหนัก พระศิวะเทพและพระอุมาเทวี จึงเริ่มตรวจสอบถามความจริงในหมู่เทพ เริ่มจากพระพรหม ติดตามความไล่หาจนมาถึงกลุ่มดาวทั้งหก


พระศิวะเทพยินดีมาก ที่นางทั้งหกได้ดูแลโอรสของพระองค์เป็นอย่างดี จึงส่งคณะเทพบริวารไปทูลเชิญกุมารกลับเขาไกรลาส ในวันเสด็จกลับนั้น พระนางปราวตีได้จัดส่งราชรถที่สร้างโดยพระวิศวกรรมไปรับ โดยพระโอรสเสด็จกลับพร้อมกับนนทิเกศวร และพระแม่กฤตติกา เมื่อราชรถถึงเขาไกรลาส เทพเทวดาทุกชั้นฟ้าเสด็จมาอำนวยชัย ประโคมดนตรีเป่าสังข์ ต้อนรับกันอย่างเอิกเกริก มีการนำหม้อน้ำหลายร้อยใบที่บรรจุแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ มาชำระร่างกายให้กับกุมาร และเหล่าเทพได้มอบสิ่งของให้ดังนี้...

พระวิษณุเทพ มอบมงกุฎและเครื่องประดับเพชรพลอย
พระศิวะเทพ พระบิดา มอบตรีศูล คันศร ลูกศร พินาค ขวาน ปาศุปัต
พระพรหมเทพ มอบด้ายสายสิญจน์ หม้อน้ำมัณฑลุ ลูกธนูพรหมศาสตร์และยุทธศาสตร์ในการทำลายศัตรู พร้อมด้วยมนต์คายตรี
พระอินทร์ มอบช้าง อสุนีบาต
พระวรุณ มอบภาชนะใส่น้ำอมฤต
ท้าวกุเบร มอบไม้อาญาสิทธิ์
กามเทพ มอบลูกธนูแห่งรักและปรารถนา
มหาสมุทรน้ำนม มอบเพชรพลอย กำไลข้อเท้า
พญาครุฑ มอบโอรส คือ พระจิตพรหัณ ให้รับใช้
พระอรุณ มอบไก่แจ้ตามรจูฑ
พระนางปารวตี หรือ พระแม่อุมาเทวี พระมารดา มอบพลังอำนาจ
พระลักษมี มอบทรัพย์สมบัติของล้ำค่า
พระสรัสวดี มอบสิทธิวิทยา ความรู้อันสูงสุดแห่งโยคะ


พระขันทกุมารก็เสด็จไปเป็นผู้ปราบตาระกาสูร อสูรที่กล่าวมาเมื่อตอนต้นนั่นเอง

พระขันธกุมารมีพระชายา 2 พระองค์ เท่ากับพระพิฆเนศ คือ พระนางเทวเสนา และ นางวัลลี ซึ่งเป็นเจ้าหญิงของชาวลังกา พิธีแต่งงานมีขึ้นที่นิมฝั่งแม่น้ำมานิก ต่อมานิคมแห่งนี้เรียกว่า กรรตติเกยะคาม ดังนั้น คนพื้นเมืองแถบนี้จึงนับถือพระขันธกุมารและยางวัลลรเป็นเทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน

ในอินเดียนั้นมีพิธีบูชาพระขันธกุมาร ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 (จิตรมาส) พิธีนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โลหะอภินิหาร ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระองค์โดยตรงในฐานะที่พระองค์เป็นชาตินักรบมาตั้งแต่เยาว์วัย

พระขันทกุมาร มีพระนามเรียกมากมาย เช่น
มหาเสนา (เทพเจ้าแห่งสงคราม) ชาวไทยนำคำนี้มาใช้เป็นชื่อตำแหน่งทางการทหาร
เสนาบดี (เป็นใหญ่ในหมู่นักรบ) ชาวไทยนำคำนี้มาใช้เป็นชื่อตำแหน่งทางการทหาร
สิทธิเสนา, ตารกชิต, ทวาทศกร, ทวาศากย์, สกันทะ, การติเกยะ, สุพราหมัณย เป็นต้น

พรแห่งพระขันทกุมาร

เนื่องจากพระองค์คือเทพแห่งสงครามและการต่อสู้ ผู้บูชาพระขันทกุมารทุกคน จึงได้รับความคุ้มครองจากพระองค์ พระองค์จะประทานความกล้าหาญชาญชัย ความเป็นผู้นำผู้อื่น ความมีศักดิ์ศรีในสังคม

นอกจากพระขันทกุมารจะประทาน ความคุ้มครอง แล้ว ยังประทาน กำลังกาย กำลังใจ ในการกระทำการต่างๆให้ลุล่วง พระองค์ไม่โปรดความอ่อนแอ ขี้ขลาด ลังเลใจ รวมถึงความอิจฉาริษยา

พระขันธกุมารคือตัวแทนแห่งความองอาจ คล่องแคล่วว่องไว ความยุติธรรมและการเรียกร้องความถูกต้อง การจะได้มาซึ่งชัยชนะของพระขันทกุมารคือการโหมพละกำลังเข้าต่อสู้กับอสูร มีความกล้าได้กล้าเสีย พระขันธกุมารมีอิทธิฤทธิ์มหาศาล พละกำลังที่พระองค์ใช้ปราบอสูรนั้นเปรียบดั่งพละกำลังของพระศิวะและพระแม่ทุรการวมกัน

ผู้บูชาพระขันทกุมารจะได้รับกำลังใจในการต่อกรกับปัญหาต่างๆ รวมถึงการได้รับความยุติธรรม พ้นจากการถูกเอาเปรียบกลั่นแกล้ง พระองค์ยึดมั่นในเกียรติยศศักดิ์ศรียิ่งกว่าสิ่งใด ทำให้กษัตริย์ มหาราชา ผู้ครองแคว้นต่างๆ ตลอดจนนักการเมือง นิยมบูชาพระขันทกุมาร

ภาพครอบครัว พระพิฆเนศ พระศิวะ พระแม่อุมา พระขันทกุมาร

ขอบคุณที่มา http://www.siamganesh.com/sakanda.html

 ==========================================

==========================================


 




 

Powered by MakeWebEasy.com