
"บทสวดมหาสมัยสูตร"
เนื่องด้วยสถานการณ์ที่น่าวิตกในปัจจุบัน ภัยธรรมชาติต่างๆนาๆ
อาจารย์ขอเชิญชวนทุกๆท่านมารวมพลังกัน
ร่วมสวดพุทธมนต์บำบัดภัย บทมหาสมัยสูตร เพื่อช่วยชาติ
เพื่อเสริมมงคลแผ่นดินดับวิบากเวรภัย
และเพื่อความร่วมเย็นสันติสุขของประเทศ
1 ทุ่มเป็นต้นไปวันนี้ (11-ตค-54) มารวมพลังกัน
ด้วยพลังบริสุทธิ์นี้ ขอวิเวกเวรภัยทั้งหลายจงคลี่คลายโดยเร็วเทอญ
สวดเมื่อไร ? สวดแล้วได้อะไร ?
"มหาสมัยสูตร" เป็นสูตรว่าด้วยสมัยเป็นที่ประชุมใหญ่ของเหล่าเทพ ในยุคของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะมีการประชุมใหญ่ของเหล่าเทวดาทั้งหลายเช่นนี้เพียงครั้งเดียว เทวดาทั้งหลายจึงพากันคิดว่าพวกเราจะฟังพระสูตรนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงมหาสมัยสูตรจบ เทวดาจำนวนหนึ่งแสนโกฎิได้บรรลุพระอรหัต
พระสูตรนี้จึงเป็นที่รักที่ชอบใจของพวกเทวดา เทวดาทั้งหลายต่างก็คิดว่าพระสูตรของตน เมื่อสวดพระสูตรนี้จะทำให้เหล่าเทวดาทั้งหลายประชุมกัน เมื่อเทวดาประชุมกันก็จะทำให้สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายถอยห่างออกไป เป็นการป้องกันสิ่งที่ไม่ดีไม่ให้เข้ามาใกล้ตัวเรานั้นเอง
พระอรรถกถาจารย์จึงแนะนำว่า "มหาสมัยสูตรนี้ เป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดา ในสถานที่ใหม่เอี่ยม เมื่อจะกล่าวมงคลกถา ควรสวดพระสูตรนี้" หมายความว่าในสถานที่สำคัญที่จะประกอบกิจใหม่ หรือในสถานใดที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ เมื่อจะสวดมงคลกถาในสถานที่เช่นนี้ควรสวดมหาสมัยสูตรนี้
เนื่องจากมหาสมัยสูตรเป็นสูตรใหญ่ จึงไม่นิยมใช้สวดในงานทำบุญทั่ว ๆ ไป แต่จะนิยมนำไปสวดเฉพาะในพิธีที่เกี่ยวข้องกับความอยู่เย็นเป็นสุขของทางบ้านเมืองเป็นหลัก นอกนั้นแล้ว การเจริญพระพุทธมนต์ยังเป็นรูปแบบของการเจริญสมาธิภาวนาอย่างหนึ่ง แต่แทนที่จะใช้วิธีนั่งบริกรรมให้จิตเกาะเกี่ยวอยู่กับคำใดคำหนึ่งหรือสิ่ง ใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว เพื่อเป็นสื่อให้เข้าถึงความสงบ ก็ใช้วิธีจิตเกาะเกี่ยวไปกับอักขระเป็นเกาะแสเช่นนี้ ไม่ปล่อยให้ความรัก โลภ โกรธ หลง กามราคะ อาฆาตพยาบาท ได้โอกาสแทรกเข้ามาครอบงำจิต ทำให้จิตมีความผ่องใส เป็นจิตมีพลังในการต้านทานกิเลสที่จะเข้ามามีอำนาจเหนือสติปัญญา จิตเช่นนี้เป็นจิตสงบ คือสงบจากกามราคะ อาฆาตพยาบาท หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน รำคาณ เบื่อหน่าย จึงชื่อว่า "จิตเป็นสมาธิ"
จากหนังสือ "มหาสมัยสูตร" บทสวดมนต์เพื่อความร่มเย็นแห่งแผ่นดิน และเพื่อสันติภาพโลก
รวบรวมโดย พระมหาเหลา ประชาษฎร์
ดาวโหลดเอกสาร "บทสวดมนต์มหาสมัยสูตร"
"บทสวดมหาสมัยสูตร"
เอวัมเม สุตัง. เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สักเกสุ วิหะระติ กะปิละวัตถุสมิง
มะหาวะเน มะหะตาภิกขุสังเฆนะ สัทธิง ปัญจะมะเตหิ ภิกขุสะเตหิ
สัพเพเหวะอะระหันเตหิ. ทะสะหิ จะ โลกะธาตูหิ เทวะตา เยภุยเยนะ
สันนิปะติตา โหนติ ภะคะวันตัง ทัสสะนายะ ภิกขุสังฆัญจะ. อะถะโข
จะตุนนัง สุทธาวาสะกายิกานังเทวานัง เอตะทะโหสิ. อะยังโข ภะคะวา
สักเกสุ วิหะระติ กะปิละวัตถุสมิง มะหาวะเน มะหะตา ภิกขุสังเฆนะ สัทธิง
ปัญจะมัตเตหิ ภิกขุสะเตหิ สัพเพเหวะ อะระหันเตหิ ทะสะหิ จะโลกะธาตูหิ
เทวะตา เยภุยเยนะ สันนิปะติตา โหนติ ภะคะวันตัง ทัสสะนายะภิกขุสังฆัญจะ
ยันนูนะ มะยัมปิ เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะเมยยามะ อุปะสังกะมิตวา
ภะคะวะโต สันติเก ปัจเจกะคาถา ภาเสยยามาติ.
อะถะโข ตา เทวะตา เสยยะถาปินามะ พะละวา ปุริโส สัมมิญชิตัง วา
พาหัง ปะสาเรยยะ ปาสาริตัง วา พาหังสัมมิญเชยยะ เอวะเมวะ สุทธาวาเสสุ
เทเวสุ อันตะระหิตา ภะคะวะโต ปุระโตปาตุระหังสุ. อะถะโข ตา
เทวะตา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง อัฏฐังสุ.เอกะมันตัง
ฐิตา โข เอกา เทวะตา ภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ
มะหาสะมะโยปะวะนัสมิง เทวะกายา สะมาคะตา อาคะตัมหะ อิมัง
ธัมมะสะมะยัง ทักขิตาเยวะ อะปะราชิตะสังฆันติ. อะถะโข อะปะรา
เทวะตาภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ. ตัตระ ภิกขะโว
สะมาทะหังสุ จิตตังอัตตะโน อุชุกะมะกังสุ สาระถีวะ เนตตานิ คะเหตวา
อินทริยานิ รักขันติ ปัณฑิตาติ.อะถะโข อะปะรา เทวะตา ภะคะวะโต
สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ. เฉตวา ขีลัง เฉตวาปะลีฆัง อินทะขีลัง
โอหัจจะมะเนชา เต จะรันติ สุทธา วิมะลา จักขุมะตา สุทันตาสุสู นาคาติ
อะถะโข อะปะรา เทวะตา ภะคะวะโต สันติเก อิมัง คาถัง อะภาสิ.
เย เกจิ พุทธัง สะระณังคะตา เส นะ เต คะมิสสันติ อะปายะภูมิง ปะหายะ
มานุสัง เทหัง เทวะกายัง ปะริปูเรสสันตีติ.
อะถะโข ภะคะวา ภิกขูอามันเตสิ เยภุยเยนะ ภิกขะเว ทะสะสุ โลกะธาตูสุเทวะตา
สันนิปะติตา ตะถาคะตังทัสสะนายะ ภิกขุสังฆัญจะ เยปิ เต ภิกขะเวอะเหสุง
อะตีตะมัทธานัง อะระหันโตสัมมาสัมพุทธา เตสัมปิ ภะคะวันตานังเอตะปะระมาเยวะ
เทวะตา สันนิปะติตา อะเหสุง.เสยยะถาปิ มัยหัง เอตะระหิ เยปิ เต ภิกขะเว ภะวิสสันติ.
อะนาคะตะมัทธานังอะระหันโต สัมมาสัมพุทธา, เตสัมปิ ภะคะวันตานัง
เอตะปะระมาเยวะ เทวะตาสันนิปะติตา ภะวิสสันติ. เสยยะถาปิ มัยหัง
เอตะระหิ อาจิกขิสสามิ ภิกขะเวเทวะกายานัง นามานิ.
กิตตะยิสสามิ ภิกขะเว เทวะกายานัง นามานิ เทสิสสามิภิกขะเว เทวะกายานัง นามานิ.
ตัง สุณาถะ สาธุกัง มะนะสิกะโรถะ ภาสิสสามีติ.เอวัมภันเตติ โข เต ภิกขู ภะคะวะโต
ปัจจัสโสสุง. ภะคะวาเอตะทะโวจะ.
สิโลกะมะนุสกัสสามิ
ยัตถะ ภุมมา ตะทัสสิตาเย สิตา คิริคัพภะรัง
ปะหิตัตตา สะมาหิตา ปุถู สีหาวะสัลลีนา
โลมะหังหาภิสัมภิโน โอทาตะมะนะสา สุทธา
วิปปะสันนะมะนาวิลาภิยโย ปัญจะสะเต ญัตวา
วะเน กาปิละวัตถะเว ตะโต อามันตะยิ สัตถา
สาวะเกสาสะเน ระเต เทวะกายา อะภิกกันตา
เต วิชานาถะ ภิกขะเว เตจะอาตัปปะมะกะรุง
สัตวา พุทธัสสะ สาสะนัง เตสัมปาตุระหุญาณัง
อะมะนุสสานะ ทัสสะนัง อัปเปเก สะตะมัททักขุง
สะหัสสัง อะถะ สัตตะริง สะตัง เอเก สะหัสสานัง
อะมะนุสสานะมัททะสุง อัปเปเกนันตะมัททักขุง
ทิสา สัพพา ผุฏา อะหุง ตัญจะ สัพพัง อะภิญญายะ
วะวักขิตวานะ จักขุมา ตะโต อามันตะยิ สัตถา
สาวะเก สาสะเน ระเต เทวะกายา อะภิกกันตา
เตวิชานาถะ ภิกขะโว เย โวหัง กิตตะยิสสามิ
คิราหิอะนุปุพพะโส
สัตตะสะหัสสา วะยักขา
ภุมมา กาปิละวัตถะวาอิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโนโมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
ฉะสะหัสสาเหมะวะตา
ยักขา นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
สาตาคิรา ติสะหัสสา
ยักขา นานัตตะวัณณิโนอิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
อิจเจเต โสฬะสะสะหัสสา
ยักขานานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโตยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติงวะนัง.
เวสสามิตตา ปัญจะสะตา
ยักขา นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโตชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานาอะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
กุมภิโรราชะคะหิโก
เวปุลลัสสะ นิเวสะนัง ภิยโย นังสะตะสะหัสสัง
ยักขานัง ปะยิรุปาสะติ กุมภิโร ราชะคะหิโก
โสปาคะ สะมิติง วะนัง.
ปุริมัณจะ ทิสัง ราชา
ธะตะรัฏโฐ ปะสาสติ คันธัพพานัง อาธิปะติ
มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว
อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนังสะมิติง วะนัง.
ทักขิณัญจะ ทิสัง ราชา
วิรุฬโหตัปปะสาสะติ กุมภัณฑานัง อาธิปะติ
มะหาราชา ยะสัสสิ โสปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว
อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโตชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานาอะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
ปัจฉิมัญจะ ทิสังราชา
วิรูปักโข ปะสาสติ นาคานัง อาธิปะติ
มะหาราชา ยะสัสสิ โส ปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว
อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนังสะมิติง วะนัง.
อุตตะรัญจะ ทิสัง ราชา
กุเวโร ตัปปะสาสะติยักขานัง อาธิปะติ
มะหาราชา ยะสัสสิ โสปุตตาปิ ตัสสะ พะหะโว
อินทะนามา มะหัพพะลา อิทธิมันโตชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานาอะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วะนัง.
ปุริมะทิสังธะตะรัฏโฐ
ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข
กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง. จัตตาโร เต มะหาราชา
สะมันตา จะตุโร ทิสา ทัททัลละมานา อัฏฐังสุ
วะเน กาปิละวัตถะเว. เตสัง มายาวิโน ทาสา
ยาคู วัญจะนิกา สะฐา มายา กุเฎณฑุ เวเฏณฑุ
วิฏู จะ วิฏุโต สะหะ จันทะโน กามะเสฏโฐ จะ
กินนุฆัณฑุ นิฆัณฑุ จะ ปะนาโท โอปะมัญโญ จะ
เทวะสูโต จะ มาตะลิ จิตตะเสโน จะ คันธัพโฑ
นะโฬราชา ชะโนสะโภ อาคู ปัญจะสิโข เจวะ
ติมพะรู สุริยะวัจฉะสา เอเต จัญเญ จะ ราชาโน
คันธัพพา สะหะ ราชุภิ โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิตัง วินัง.
อะถาคู นาภะสา นาคา
เวสาลา สะหะตัจฉะกา กัมพะลัสสะตะรา อาคู
ปายาคาสะหะ ญาติภิ. ยามุนา ธะตะรัฏฐา จะ
อาคู นาคา ยะสัสสิโนเอราวัณโณ มะหานาโค
โสปาคะ สะมิติง วะนัง.
เย นาคะราเชสะหะสา หะรันติ ทิพพา ทิชา ปักขิ วิสุทธะจักขู เวหายะสา เต
วะนะมัชฌะปัตตาจิตรา สุปัณณา อิติ เตสะ นามัง อะภะยันตะทา
นาคะราชานะมาสิ สุปัณณะโตเขมะมะกาสิ พุทโธ สัณหาหิ วาจาหิ
อุปะวะหะยันตา นาคา สุปัณณา สะระณะมะกังสุพุทธัง.
ชิตา วะชิระหัตเถนะ
สะมุททัง อะสุรา สิตา ภาตะโร วาสะวัสเสเต
อิทธิมันโต ยะสัสสิโน กาละกัญชา มะหาภิสมา
อะสุรา ทานะเวฆะสา เวปะจิตติ สุจิตติ จะ
ปะหาราโท นะมุจี สะหะ สะตัญจะ พะลิปุตตานัง
สัพเพ เวโรจะนามะกา สันนัยหิตวา พะลิง เสนัง
ราหุภัททะมุปาคะมุง สะมะโยทานิ ภัททันเต
ภิกขุนัง สะมิติง วินัง.
อาโป จะ เทวา ปะฐะวี จะ เตโช วาโย ตะทาคะมุง
วะรุณา วารุณา เทวา โสโมจะ ยะสะสา สะหะ
เมตตากะรุณากายิกา อาคู เทวา ยะสัสสิโน ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.
เวณฑู จะ เทวา สะหะลี จะอะสะมา จะ ทุเว ยะมา จันทัสสูปะนิสาเทวา
จันทะมาคู ปุรักขิตา สุริยัสสูปะนิสา เทวา
สุริยะมาคู ปุรักขิตา นักขัตตานิ ปุรักขิตวา
อาคู มันทะพะลาหะกา วะสูนัง วาสะโว เสฏโฐ
สักโก ปาคะ ปุรินทะโท ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.
อะถาคู สะหะภู เทวา ชะละมัคคิสิขาริวะ อะริฏฐะกา จะ โรชา จะ
อุมมา ปุปผะนิภาสิโน วะรุณา สะหะธัมมา จะ
อัจจุตา จะ อะเนชะกา สุเลยยะรุจิรา อาคูอาคู วาสะวะเนสิโนทะเสเต
ทะสะธา กายา สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุงภิกขูนัง สะมิติงวินัง.
สะมานา มะหาสะมานา
มานุสามานุสุตตะมา ขิฑฑาปะทูสิกา อาคู
อาคูมะโนปะทูสิกา อะถาคู หะระโย เทวา
เย จะโลหิตะวาสิโน ปาระคา มะหาปาระคา
อาคู เทวายะสัสสิโน ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพนานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.
สุกกา กะรุมหา อะรุณา
อาคู เวฆะนะสา สะหะ โอทาตะคัยหา ปาโมกขา
อาคู เทวา วิจักขะณา สะทามัตตา หาระคะชา
มิสสะกา จะ ยะสัสสิโน ถะนะยัง อาคา ปะชุนโน
โย ทิสา อะภิวัสสะติ ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานา อะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.
เขมิยา ตุสิตา ยามา
กัฏฐะกา จะ ยะสัสสิโน ลัมพิตะกา ลามะเสฏฐา
โชติมานา จะ อาสะวา นิมมานะระติโน อาคู
อะถาคู ปะระนิมมิตา ทะเสเต ทะสะธา กายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน อิทธิมันโต ชุติมันโต
วัณณะวันโต ยะสัสสิโน โมทะมานาอะภิกกามุง
ภิกขูนัง สะมิติง วินัง.
สัฏเฐเต เทวะนิกายา
สัพเพ นานัตตะวัณณิโน นามันวะเยนะ อาคัญฉุง
เย จัญเญ สะทิสา สะหะ ปะวุตถะชาติมักขีลัง
โอฆะติณณะมะนาสะวัง ทักเข โมฆะตะรัง นาคัง
จันทังวะ อะสิตาสิตัง สุพรัหมา ปะระมัตโต จะ
ปุตตา อิทธิมะโต สะหะ สันนังกุมาโร ติสโส จะ
โสปาคะ สะมิติง วะนัง.
สะหัสสะพรัหมะโลกานัง
มะหาพรัหมาภิติฏฐะติ อุปะปันโน ชุติมันโต
ภิสมากาโย ยะสัสสิ โส. ทะเสตถะ อิสสะรา อาคู
ปัจเจกะวะสะวัตติโน เตสัญจะ มัชธะโต อาคา
หาริโต ปะริวาริโต. เต จะ สัพเพ อะภิกกันเต
สินเท เทเว สะพรัหมะเก มาระเสนา อะภิกกามิ
ปัสสะ กัณหัสสะ มันทิยัง เอถะ คัณหะถะ พันธะถะ
ราเคนะ พันธมัตถุ โว สะมันตา ปะริวาเรถะ
มา โว มุญจิตถะ โกจิ นัง. อิติ ตัตถะ มะหาเสโน
กัณหะเสนัง อะเปสะยิ ปาณินา ตะละมาหัจจะ
สะรัง กัตวานะ เภระวัง. ยะถา ปาวุสสะโก เมโฆ
ถะนะยันโต สะวิชชุโก ตะทา โส ปัจจุมาวัตติ
สังกุทโธ อะสะยังวะเส. ตัญจะ สัพพัง อะภิญญายะ
วิวักขิตวานะ จักจุมา ตะโต อามันตะยิ สัตถา
สาวะเก สาสะเน ระเต มาระเสนา อะภิกกันตา
เต วิชานาถะ ภิกขะโว.
เต จะ อาตัปปะมะกะรุง
สุตวา พุทธัสสะ สาสะนัง วีตะราเคหิ ปักกามุง
เนสัง โลมัมปิ อิญชะยุง. สัพเพ วิชิตะสังคามา
ภะยาตีตา ยะสัสสิโน โมทันติ สะหะ ภูเตหิ
สาวะกา เต ชะเนสุตาติ.
มะหาสะมะยะสุตตัง นิฏฐิตัง.
มหาสมัยสูตร (แปล)
สมัยหนึ่ง พระผู้มีประภาคประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตพระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ซึ่งล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ได้มีเทพจากโลกธาตุทั้ง ๑๐ ประชุมเป็นจำนวนมาก เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคและเยี่ยมชมภิกษุสงฆ์ ฯ
เมื่อเทพชั้นสุทธาวาส ๔ องค์ ได้รับรู้เช่นนั้น ก็เลยดำริว่า .. ทางที่ดีพวกเราก็ควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค พอถึงที่ประทับแล้วกล่าวคาถาองค์ละคาถา ในสำนักพระผู้มีประภาคเจ้าเช่นกัน .. ทันใดนั้นเองเทพเหล่านั้นหายไปจากเทวโลกชั้นสุทธาวาสปรากฎเบื้องพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าเหนือบุรุษมีกำลังเหยียดแขนคู้ออก หรือคู้แขนเข้า ถวายอภิวาทแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร
เทพองค์หนึ่งกล่าวคาถาว่า "การประชุมครั้งใหญ่ในป่าใหญ่มีหมู่เทพมาประชุมกันแล้ว พวกเราพากันมาสู่ธรรมสมัยนี้ เพื่อได้เห็นหมู่ท่านผู้ชนะมาร"
จากนั้น เทพองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ว่า "ภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมนั้น มีจิตมั่นคง ทำจิตของตนให้ตรง ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์ไว้เหมือนสารถีผู้กำบังเหียนขับรถม้า"
เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ว่า "ภิกษุเหล่านั้น ตัดกิเลสดุจตะปู ตัดกิเลสดุจลิ่มสลัก ถอนกิเลสดุจเสาเขื่อนได้แล้ว เป็นผู้ไม่หวั่นไหว บริสุทธิ์ปราศจากมลทินทั่วไปเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุทรงฝึกดีแล้วเหมือนช้างหมุ่มฯ"
เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ว่า "เหล่าชนผู้นับถือพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ จักไม่ไปอบายภูมิ ครั้งละกายมนุษย์แล้ว ก็จะทำให้หมู่เทพเพิ่มจำนวนมากขึ้นเต็มที่"
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า...
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พวกเทวดาในโลกธาตุทั้ง ๑๐ ประชุมกันมาก เพื่อเยี่ยมตถาคตและภิกษุสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาได้มาประชุมกัน เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา........
สัมพุทธเจ้าในอดีตกาล ก็มีจำนวนมากเท่าที่ประชุมกันเพื่อเฝ้าเราในบัดนี้เช่นกัน
พวกเทวดาที่มาประชุมกันเพื่อเฝ้าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาล ก็มีจำนวนมากเท่าที่ประชุมกันเพื่อเฝ้าเราในบัดนี้เช่นกัน
เราจักระบุนามของพวกเทวดา เราจักแสดงนามพวกเทวดา พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระพุทธดำรัส
ภุมมเทวดา
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถานี้ว่า เราจักกล่าวเป็นร้อยกรอง ภุมมเทวดาอาศัยอยู่ ณ ที่ใด พวกภิกษุก็อาศัยอยู่ที่นั้น ภิกษุเหล่าใดอาศัยซอกเขา มีความมุ่งมั่น มีจิตใจตั้งมั่น พวกเธอมีจำนวนมาก เร้นอยู่ราวกับพญาราชสีห์ ข่มความขนพองสยองเกล้าลงเสีย ได้มีจิตผุดผ่องหมดจด ผ่องใส ไม่ขุนมัว
พระศาสดาทรงทราบว่ามีพระภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป อยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตพระนครกบิลพัสดุ์ จึงเรียกตรัสสาวกผู้ยินดีในพระศาสนามาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย หมู่เทพมุ่งมากันแล้ว พวกเธอจงรู้จักหมู่เทวดานั้น" ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแล้ว ได้กระทำความเพียร จึงมีญาณทำให้เห็นพวกอมนุษย์ปรากฏขึ้น ภิกษุบางพวกเห็น ๑๐๐ ตน บางพวกเห็น ๑,๐๐๐ ตน บางพวกเห็น ๗๐,๐๐๐ ตน บางพวกเห็น ๑๐๐,๐๐๐ ตน บางพวกเห็นมากมายจนไม่สามารถนับได้กระจายอยู่ไปทั่วทิศ
พระศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงทราบเหตุนั้นทั้งหมด จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า หมู่เทพมุ่งกันแล้ว พวกเธอจงรู้จักหมู่เทพนั้น เราจะบอกพวกเธอด้วยวาจาตามลำดับ.
ยักษ์ ๗,๐๐๐ ตน เป็นภุมมเทวดาอาศัยในพระนครกบิลพัสดุ์ ยักษ์ ๖,๐๐๐ ตนอยู่ที่เขาหิมพานต์ ยักษ์ ๓,๐๐๐ ตน อยู่ที่เขาสาตาคีรี ยักษ์เหล่านั้นรวมเป็น ๑๖,๐๐๐ ตน มีผิวพรรณต่าง ๆ กัน มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีผิวพรรณงดงาม มียศ ต่างก็มีความยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย รวมทั้งยักษ์ ๕๐๐ ตน อยู่ที่เขาเวสสามิตตะ กุมภีร์ยักษ์ผู้รักษากรุงราชคฤห์อยู่ที่เขาเวปุลละ มียักษ์ ๑๐๐,๐๐๐ ตนเป็นบริวาร ก็เช่นเดียวกัน
ท้าวจตุโลกบาล
ท้าวธตรัฐปกครองทิศตะวันออก เป็นอธิบดีของพวกคนธรรพ์ ท้าววิรุฬหกปกครองทิศใต้ เป็นอธิบดีของพวกกุมภัณฑ์ ท้าววิรูปักษ์ปกครองของทิศตะวันตก เป็นอธิบดีของพวกนาค ท้าวกุเวรเป็นใหญ่ในทิศเหนือ ท้าวจตุมหาราชมีแสงสว่างรุ่งเรืองส่องไปโดยรอบทั่วทั้ง ๔ ทิศ เป็นมหาราชผู้มียศ แม้บุตรก็มีจำนวนมาก ต่างมีพลังมากมีชื่อว่า "อินท" มีฤทธิ์ มีอานุภาพ มีผิวพรรณงดงาม มียศ ต่างมีความยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย
อนึ่ง เหล่านาคที่อยู่ในสระชื่อ อนาภสะ ในกรุงเวสาลีและที่อื่น เหล่าครุฑผู้เป็นทิพย์มีนัยน์ตาบริสุทธิ์ พวกอสุรอาศัยในสมุทร และพญามารก็มาด้วย
เทวนิกาย ๖๐
ในเวลานั้นเทพ ๑๐หมู่ คือ อาโป ปฐวี เตโช วาโย วรุณะ วารุณะ โสมะ ยสสะ เมตตา และกรุณา เป็นผู้มียศก็มาด้วย เทพ ๑๐ หมู่เหล่านี้แบ่งเป็น ๑๐ พวก ทั้งหมดล้วนมีผิวพรรณต่าง ๆ กัน มีฤทธิ์ มีอนุภาพ มีผิวพรรณางดงาม มียศ ต่างมีความยินดีมุ่งมายังป่าที่ประชุมของภิกษุทั้งหลาย มาตามกำหนดชื่อหมู่เทพและเทพเหล่าอื่น ผู้มีผิวพรรณและชื่อเช่นนั้นก็มาพร้อมกัน ด้วยคิดว่า "พวกเราจะพบพระนาคะ ผู้ไม่มีการเกิดอีกต่อไป ไม่มีกิเลสดุจตะปู ก้าวข้ามโอฆะ คือ กิเลสได้แล้ว ไม่มีอาสวะ พ้นโอฆะได้แล้ว ล่วงพ้นธรรมฝ่ายต่ำ ดุจดวงอาทิตย์พ้นจากเมฆ"
พรหมนิกาย
สุพรหมและปรมัตตพรหม ผู้เป็นบุตรของพระพุทธเจ้าผู้มีฤทธิ์ก็มาด้วย และเมื่อเสนามารมาถึง พระศาสดาได้ ตรัสบอกกับเทพทั้งหมดเหล่านั้น พร้อมทั้งพระอินทร์ และพระพรหมผู้ประชุมกันอยู่ว่า "ท่านจงดูความโง่เขลาของกัณหมาร"
พญามารได้เสนามารไปในที่ประชุมใหญ่ของเหล่าเทพพร้อมกำชับว่า "พวกท่านจงไปจับหมู่เทพผูกไว้ด้วยราคะล้อมไว้ทุกด้าน อย่าปล่อยให้ผู้ใดหลุดพ้นไปได้" แล้วก็เอาฝ่ามือตบแผ่นดินทำเสียงหน้ากลัว เหมือนฝนตก ฟ้าแลบร้อง คำรามอยู่ แต่พญามารก็ไม่อาจทำให้ใครตกอยู่ในอำนาจได้จึงเกรี้ยวโกรธกลับไป
พระศาสดาผู้มีจักษุทรงทราบเหตุนั้นทั้งหมด ทรงกำหนดได้แล้วจึงตรัสเรียกพระสาวกผู้ยินดีในพระศาสนามาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เสนามารมุ่งมากันแล้ว พวกเธอจงรู้จักเขา" ภิกษุเหล่านั้นทูลสนองพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแล้ว พากันทำความเพียร มารและเสนามารหลีกไปจากเหล่าภิกษุผู้ปราศจากราคะ ไม่อาจแม้ทำขนของภิกษุเหล่านั้นให้ไหว
พญามารกล่าวสรรเสริญว่า หมู่พระสาวกพระพุทธเจ้าชนะสงครามแล้วทั้งสิ้น ล่วงพ้นความกลัวได้แล้ว มียศปรากฎในหมู่ชน บันเทิงอยู่กับพระอริยเจ้าในพระศาสนาของพระทศพล ฯ