
เทศกาลไหว้พระจันทร์ เทศกาลเดือน 8 จีน
ขอพรเทวีพระจันทร์ (ไท้อิม)
ไหว้พระจันทร์ รับทรัพย์ รุ่งเรือง
ไหว้วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ไทย ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน 2556
คือจันทร์เต็มดวง วันจันทร์ ขึ้น 15 ค่ำ (กำลังของพระจันทร์)
ควรตั้งโต๊ะไหว้พระจันทร์
จุดเครื่องบูชาแล้วสักการะขอพรตอนพระจันทร์เต็มดวงจะดีที่สุด
ควรตั้งตุ่มน้ำมนต์ 4 ตุ่มจะดี (ใช้น้ำมนต์จากสถานศักดิ์สิทธิ์หลายๆวัด)
ของไหว้(ที่ขาดไม่ได้)ให้ตั้งโต๊ะจัดบูชาตามนี้
1. ขนมไหว้พระจันทร์ จัดตามแต่ความเหมาะสมของแต่ละท่าน ยิ่งตกแต่งให้สวยงามจะยิ่งดี
2. ขนมหวานอื่นๆเพิ่มเติมยิ่งมากยิ่งดี
3. ถาดผลไม้ 9 อย่าง
4. ส้ม 5 ผล 9 ชุด
5. น้ำชา 5 ถ้วย
6. ชุดกระดาษไหว้พระจันทร์ (หาซื้อได้ตามร้านในเยาวราช)
เพิ่มเติมด้วย:
7. แจกันทองเหลืองใส่ต้นกวนอิม 9 กิ่ง 1 คู่
8. กิเลนทองเหลือง 1 คู่ ผูกด้ายแดง
9. ขันน้ำมนต์ใส่กิ่งทับทิม 7 กิ่ง
เมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนให้จุดธูป 15 ดอกไหว้เทพพระจันทร์ขอพร
สวดว่าคาถาดังนี้
"งัน มะ ณี ฮุม โอม จันทระประภา มหาโพธิสัตตรัยยะ
มหาโภคา วัชรายะ ฮุมฮริ
นำมอ ไท้อิม ผ่อสัก หม่อฮอสัก"
(15 จบ)
เสร็จจึงขอพรตามใจปรารถนา
แนะนำเพิ่มเติม
*** ควรนำกระเป๋าเงินของตัวเองมาสวดด้วยจะดียิ่ง ***
วิธีรับพลังเทพพระจันทร์
คืนวันไหว้พระจันทร์ 19 ก.ย. 56 นี้ รับพลังฟ้าดินผ่อนคลายง่ายๆ สบายๆ
ด้วยการจุดเทียนขี้ผึ้ง 15 เล่มกลางแจ้ง หรือที่ๆ มองพระจันทร์ได้ชัดดีที่สุด
ตอนเที่ยงคืนให้จุดเทียนรอบตัวเป็นวงกลมๆ นั่งบนเบาะนั่งสบายๆ หันหน้าไปทางเหนือ
สวดคาถารับพลังเทพพระจันทร์
"มณีจันทรามหามันตราอมริตาภควเตสวาหา" 108 จบ สบายๆ
เพื่อรับพลังจันทราดับ พลังหมักหมม ไอลบ ไอโรค
ถ้ามีสร้อยหินลูกปัดแก้วโป่งข่ามเครื่องมงคลนำมาตากขอพรพระจันทร์ยิ่งดีมาก
ประวัติความเป็นมาของเทศกาลไหว้พระจันทร์
เทศกาลไหว้พระจันทร์ มีหลายตำนานและเรื่องเล่าที่มีมาจากหลายยุคหลายสมัย แต่ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายเห็นจะเป็นตำนาน “เทพธิดาฉางเอ๋อเหินสู่ดวงจันทร์” (嫦娥奔月)
ตำนานดังกล่าวปรากฏครั้งแรกในยุคต้นของสมัยจั้นกว๋อ (戰國 / 战国) (ยุคสงคราม 475 – 221 ก่อนคริสต์ศักราช) เป็นเรื่องราวของฉางเอ๋อ สาวงามผู้กินยาอายุวัฒนะของเจ้าแม่ซีหวังหมู่ แล้วกลายเป็นเทพธิดาอมตะแห่งดวงจันทร์ ตำนานเกี่ยวกับฉางเอ๋อผู้นี้ได้ถูกแต่งเติมรายละเอียดออกไปอีกในราชวงศ์ต่อมา...
เล่ากันว่า เมื่อครั้งโบราณกาล โลกเรามีดวงอาทิตย์อยู่ถึงสิบดวง นำมาซึ่งภัยพิบัติแก่โลกมนุษย์ ทุกหย่อมหญ้าร้อนระอุเป็นแผ่นดินเพลิง ส่วนที่เป็นน้ำก็เหือดแห้ง ส่วนที่เป็นภูเขาก็ถล่มแผ่นดินแยก ต้นไม้ใบหญ้าแห้งกรอบ ผู้คนไม่มีที่หลบซ่อนอาศัย ในครั้งนั้น ได้ปรากฏวีรบุรุษนามว่า “โฮ่วอี้” เป็นผู้ที่มีฝีมือในการยิงธนูได้แม่นยำอย่างอัศจรรย์ เขายิงธนูขึ้นสู่ฟ้าเพียงดอกเดียวก็ยิงถูกดวงอาทิตย์ถึงเก้าดวง ทำให้เหลืออยู่เพียงดวงเดียว ถือเป็นการขจัดทุกเข็ญให้กับบรรดาประชาราษฎร์ ผู้คนจึงพากันยกย่องให้เขาเป็นกษัตริย์ ... ทว่าเมื่อโฮ่วอี้ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ ก็ลุ่มหลงในสุราและนารี ฆ่าฟันผู้คนตามอำเภอใจ กลายเป็นทรราช ราษฎรล้วนแต่โกรธแค้นและชิงชังเขาเป็นที่สุด โฮ่วอี้รู้ตัวว่าคงจะอยู่เป็นสุขเช่นนี้ไปได้อีกไม่นาน จึงเดินทางไปที่ภูเขาคุนหลุน (คุนลุ้น) (崑崙山 / 昆仑山) เพื่อขอยาอายุวัฒนะจากเจ้าแม่หวังหมู่มากิน แต่ฉางเอ๋อ ภรรยาของเขากลัวว่า ถ้าสามีของนางมีอายุยืนนานไม่มีวันตายเช่นนี้ อาจจะนำความเดือดร้อนมาสู่ราษฎรเป็นแน่ คิดได้ดังนี้ นางจึงตัดสินใจแอบขโมยยาอายุวัฒนะนั้นมากินเสียเอง เมื่อกินเข้าไปแล้ว ร่างของฉางเอ๋อก็เบาหวิว และลอยขึ้นไปสู่ดวงจันทร์ นับแต่นั้นมา บนดวงจันทร์ก็ปรากฏภาพเทพธิดา ที่เชื่อกันว่าเป็นฉางเอ๋อนี้เอง
บางตำนานของเทศกาลไหว้พระจันทร์ก็เล่ากันว่า...ความจริงแล้วเทศกาลนี้เกิดขึ้นในราวปี พ.ศ. 1911 ในช่วงมองโกลยึดครองจีน ขนมเค้กที่ทำขึ้นก็เพื่อซุกซ่อนข้อความลับของพวกกบฎที่มีถึงประชาชนทั่วทั้งประเทศให้มาชุมนุมกันครั้งใหญ่นเดือน 8 นี้ ทหารมองโกลไม่ได้ระแวงถึงจุดประสงค์ของพวกกบฎ เพราะคิดว่าขนมเค้กเหล่านั้นเป็นการทำตามประเพณีดั่งเดิมของชาวจีน ด้วยเหตุนี้ในคืนนั้นเองทหารมองโกลจึงถูกปราบเสียราบคาบหลังจากที่ราชวงศ์ใหม่คือราชวงศ์ หมิงได้ถูกจัดตั้งขึ้นแล้ว ประเพณีนี้ก็ถือปฏิบัติกันมาจนถึงทุกวันนี้
อีกตำนานจากหนังสือบันทึกโบราณโจวหลี่ระบุว่า พิธีเซ่นไหว้พระจันทร์ทั่วทั้งประเทศนั้น เริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งที่มาของพิธีในเทศกาลนี้มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับตำนานความฝัน ของกษัตริย์ถังหมิงหวง เสด็จประพาสพระราชวังบนดวงจันทร์ เรื่องเล่ามีอยู่ว่า ในกลางดึกของคืนเดือนเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 กษัตริย์ถังหมิงหวงบรรทมหลับไปแล้วทรงพระสุบินว่า พระองค์ลอยขึ้นไปเที่ยวชมพระราชวังบนดวงจันทร์ และได้พบเทพธิดาบนดวงจันทร์กำลังร่ายรำอยู่อย่างงดงาม ในฝันนั้น พระองค์ทรงเพลิดเพลินและเกษมสำราญเป็นอย่างยิ่ง กระทั่งเมื่อตื่นพระบรรทมและทรงโปรดให้พระสุบินนั้นเป็นความจริ ง จึงมีรับสั่งให้นางสนมแต่งตัวและร่ายรำเลียนแบบเทพธิดาในฝันตั้งแต่นั้นมาทุกวั นขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 พระองค์ก็รับสั่งให้จัดเครื่องเซ่นไหว้พระจันทร์ และทอดพระเนตรความงามของพระจันทร์ไปพร้อมกับการร่ายรำของนางสนม ประเพณีปฏิบัติเช่น นี้ ภายหลังได้แพร่หลายไปทั่วประเทศ และเป็นเทศกาลที่มีความสำคัญอีกหนึ่งเทศกาลนับแต่นั้นมา
อย่างไรก็ดี...ไม่ว่าประวัติที่แม้จริงของเทศกาลไหว้พระจันทร์จะเป็นมาอย่างไร แต่ท่ามกลางกระบวนการวิวัฒนาการนั้น วันไหว้พระจันทร์ก็มีความสำคัญอีกอย่างหนึ่งขึ้นมา คือได้รับการนิยามว่าเป็น “วันแห่งการอยู่พร้อมหน้าของครอบครัว” เพราะว่าชาวจีนเห็นว่า วงกลมของพระจันทร์เปรียบเสมือนการครบถ้วนบริบูรณ์ของสมาชิกครอบครัวนั่นเอง ฉะนั้น ชาวจีนจึงนิยมอยู่กันพร้อมหน้าในวันไหว้พระจันทร์ รับประทานอาหารร่วมกัน รอจนถึงเวลาที่จันทร์เพ็ญลอยกระจ่างฟ้า ก็จะกางโต๊ะในลานกลางแจ้ง จัดผลไม้ขนมขบเคี้ยวและอาหารอื่นๆ หลากหลายไว้บนโต๊ะแล้วจึงเซ่นไหว้พระจันทร์ด้วยกัน ขอให้มีความสุขและความบริบูรณ์กันถ้วนหน้า
